ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๑๐๐.

๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนคร กบิลพัสดุ์ แถบสักกชนบท. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่ง ขนเจียม, ภิกษุณีทั้งหลายมัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา. ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ พุทธสำนัก. ครั้น ถวายบังคมแล้ว ได้ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แลว่า ดูกรพระโคตมี พวกภิกษุณียังเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่หรือ? พระนางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ความไม่ประมาทของพวกภิกษุณีจักมีแต่ไหน, เพราะ พระผู้เป็นเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม, ภิกษุณีทั้งหลาย มัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว. พระนางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พ. เขาเป็นญาติของพวกเธอ หรือมิใช่ญาติ? ฉ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ภิกษุผู้มิใช่ญาติ ย่อมไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๑.

รู้การกระทำที่สมควรหรือไม่สมควร, อาการที่น่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอยังใช่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียมได้, การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด, เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม, นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๒.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อม เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ, นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ภิกษุสั่งว่า จงซัก, ต้องอาบัติทุกกฏ. ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็นนิสสัคคีย์. ภิกษุสั่งว่า จงย้อม, ต้องอาบัติทุกกฏ. ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็นนิสสัคคีย์. ภิกษุสั่งว่า จงสาง, ต้องอาบัติทุกกฏ. ขนเจียมที่สางแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้น อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า. ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๓.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำ จะสละ, ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสีย สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๑
[๑๐๓] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๔.

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ซึ่งขนเจียม. เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๕.

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๖.

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุ ใช้ภิกษุณี ซักขนเจียมของภิกษุอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุ ใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียวซัก, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๗.

ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๔] ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง ๑, ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ ๑, ภิกษุไม่ได้ บอกใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑, ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ ๑, ใช้สิกขมานาซัก ๑, ใช้สามเณรีซัก ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๓๗๘-๒๕๖๖ หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2378&Z=2566&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=101&items=4&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=101&items=4&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=101&items=4&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=101&items=4&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=101              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :