ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. อโนตตัปปิสูตร
[๔๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่าอิสิปตน- *มฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อน ในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนา ปราศรัยกับท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๔๖๕] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสป ดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ผู้ไม่มี ความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควร เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนผู้มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดูกรผู้มีอายุ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความ สะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อ บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงจัก ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อ ความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อย่างยอดเยี่ยม ฯ [๔๖๖] ท่านพระมหากัสสปกล่าวว่า อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อ เกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไป เพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่ากุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความ เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่ากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึง เป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯ [๔๖๗] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร ฯ ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศล- *ธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย ประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมที่ลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อ ความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มี ความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๔๖๘] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส อย่างไร ฯ ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดย คิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ ความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอัน ลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่ เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดย คิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯ [๔๖๙] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร ฯ ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศล ธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย ประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไป เพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มี ความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. จันทูปมสูตร
[๔๗๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ เป็นผู้ไม่คะนองในสกุลทั้งหลาย เข้าไปสู่สกุลเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงพรากกาย พรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า หรือที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนภูเขา หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วงๆ ฉันใด พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่ เป็นนิตย์ ไม่คะนองในสกุล เข้าไปสู่สกุล ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสป เปรียบประดุจพระจันทร์ พรากกาย พรากจิตออกแล้ว เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในสกุลทั้งหลาย เข้าไปสู่สกุล ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๑๕๑-๕๒๒๒ หน้าที่ ๒๑๗-๒๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=5151&Z=5222&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=16&item=464&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=16&item=464&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=464&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=16&item=464&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=464              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :