ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๑๐๙.

[๓๕๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการฆ่าแพะ แกะ โค และ สัตว์ชนิดต่างๆ คือ อัศวเมธ ๑- ปุริสเมธ ๒- สัมมาปาสะ ๓- วาชเปยยะ ๔- นิรัคคฬะ ๕- มหายัญเหล่านั้น เป็นยัญไม่มี ผลมาก (เพราะ) พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น ฯ @๑. อัศวเมธ ได้แก่การฆ่าม้าบูชายัญ แต่ชื่อนี้หมายความกว้างกว่านั้น คือ หมาย @ถึงยัญที่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง เว้นที่ดินแลคน ซึ่งเขาตั้งเสายัญ ๒๑ เสา สำหรับผูก @ปศุสัตว์ที่จะต้องฆ่าประมาณ ๕๙๗ ชนิด เพื่อบูชายัญ แล้วทำการบูชาอยู่หลายวันกว่าจะ @เสร็จพิธี แต่ฉบับพม่าเพี้ยนไปเป็น สสฺสเมธํ แปลว่าสัสสเมธ เป็นยัญในพระพุทธศาสนา @ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่า @นาตามธัญญาหารที่สำเร็จผลสิบส่วน เก็บไว้เป็นส่วนหลวงส่วนหนึ่ง นี่เป็นสังคหวัตถุ @ประการหนึ่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่ตรงกับเรื่องในพระสูตรนี้ ฯ @๒. ปุริสเมธ ได้แก่การฆ่าคนบูชายัญ แต่ความจริงหมายเฉพาะยัญที่บูชาด้วย @สมบัติต่างๆ อย่างอัศวเมธนั้น แต่รวมที่ดินเข้าด้วย แต่ในพระพุทธศาสนา หมายถึงการ @พระราชทานทรัพย์เป็นเบี้ยเลี้ยงและบำเหน็จบำนาญแก่ทวยหาญทุก ๖ เดือน เป็นสังคห- @วัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิประการหนึ่ง ฯ @๓. สัมมาปาสะ ได้แก่การผูกสัตว์บูชายัญ โดยเขาทำพิธีเหวี่ยงท่อนไม้สำหรับ @ต้อนสัตว์เข้าไปที่หลักบูชาเพลิงทั้งคู่ แล้วร่ายเวทตรงที่ท่อนไม้นั้นตก ทำการบูชาตามพิธี @ผู้บูชาต้องเป็นคนได้เดินทางย้อนไปตามแม่น้ำสรัสดีแล้วด้วย จึงจะเข้าพิธีได้ แต่ที่ใน @พระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการเรียกหนังสือสาร @กรรมธรรม์กู้แต่ชาวเมืองที่ขัดสนแล้วพระราชทานทรัพย์ให้กู้ โดยไม่เรียกดอกเบี้ยเป็น @เวลา ๓ ปี ฯ @๔. วาชเปยยะ ได้แก่ยัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งเขาผูกปศุสัตว์ ๑๗ ชนิดบูชา แต่ที่เป็น @สังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการตรัสพระวาจาอันอ่อนหวาน เป็นที่ดูดดื่มน้ำ @ใจของประชาชน ฯ @๕. นิรัคคฬะ ได้แก่ยัญที่ไม่ต้องมีหลักยัญสำหรับบูชา หมายถึงพิธีชนิดเดียวกับ @อัศวเมธ แต่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง ไม่มียกเว้นอะไร ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า @สรรพเมธ แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงผลที่ @พระมหากษัตริย์สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ข้างต้นนั้น ที่เป็นเหตุให้รัฐมั่งคั่งสมบูรณ์ @ไม่มีโจรผู้ร้ายและประชาราษฎร์บันเทิงใจเป็นอยู่ อย่างที่กล่าวว่า ประตูเรือนไม่ต้องลงลิ่ม @กลอนระวังก็ได้ฉะนั้น ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๐.

ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งบุคคลบูชาสืบตระกูลทุกเมื่อ พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทา อันชอบ ย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น ฯ ผู้มีปัญญาควรบูชายัญนั้น ยัญนั้นเป็นยัญมีผลมาก เมื่อบุคคล บูชายัญนั้นนั่นแหละ ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วช้า เลวทราม ยัญก็เป็นยัญอย่างไพบูลย์ และเทวดาย่อม เลื่อมใส ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๔๔๕-๒๔๘๕ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2445&Z=2485&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=15&item=351&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=15&item=351&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=351&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=15&item=351&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=351              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :