ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
             [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวิติกกมโทษ พวกเธออย่า
เพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้ ความ
ไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคล
ผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย
และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
พวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
             อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา แต่ความ
ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มี
ความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจาก
อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่อง
เล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็น
เรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
             อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา แต่
ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มัก
โกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออก
จากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย
ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่อง
ใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
             ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความ
ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มี
ความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น สละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง
อยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้
เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้
ก็ควรพูด
             แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความ
ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความ
ผูกโกรธ มีทิฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง
อยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้ ฯ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๘๗๑-๙๐๐ หน้าที่ ๓๗-๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=871&Z=900&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=14&item=49&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=14&item=49&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=14&item=49&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=14&item=49&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=49              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_14

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :