ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เทวทหวรรค
๑. เทวทหสูตร (๑๐๑)
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สักยนิคม อันมีนามว่า เทวทหะ ในสักกชนบท สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะ เหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะ สิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้น เวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มักมีวาทะอย่างนี้ ฯ [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้แล้ว ถามอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ จริงหรือที่มีข่าวว่า พวกท่านมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็น ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ ในก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับ ต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความ สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวง จักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์นั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วย่อมยืนยัน เราจึงถามพวกนิครนถ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ฯ นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำ บาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำ บาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัด ได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญ กุศลธรรมในปัจจุบันละหรือ ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ [๔] เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่าน ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลาย ได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม อย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้อง สลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ไม่ทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำ กรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่า ทุกข์ เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เรา สลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด พึงทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ควรจะ พยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็น ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ ในก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูก บังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ [๕] ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษ อาบไว้อย่างหนาแล้ว พึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบ เพราะเหตุการ เสียดแทงของลูกศร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาพึงให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศาตราชำแหละปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้น หาลูกศร เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่อง ตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เขา พึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล สมัยต่อมา เขามีแผลหาย มีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี เป็น อยู่ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้ จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกยิงด้วย ลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนา ได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้ เพราะเหตุการเสียดแทงของลูกศร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเราให้หมอผ่าตัด รักษา หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผล เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศาตราชำแหละปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้น หาลูกศร เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูก เครื่องตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ ปากแผล เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยา ถอนพิษที่ปากแผล เดี๋ยวนี้ เรานั้นมีแผลหาย มีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี เป็นอยู่ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้ ฉันใด ฯ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เรา ทั้งหลาย ได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม อย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้ เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ ได้ทั้งหมด พึงทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็น เช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ควรจะพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่พวกท่านไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ไม่ทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน ฉะนั้น พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ จึงไม่บังควรจะ พยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของ อันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ พวกนิครนถ์นั้นได้กล่าว กะเราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้ เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะตลอดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินก็ดี ยืนก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะได้ปรากฏติดต่อเสมอไป ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรพวกนิครนถ์ผู้มีอายุ บาปกรรมที่พวกท่านทำไว้ในก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัด บาปกรรมนั้นเสีย ด้วยปฏิปทาประกอบด้วยการกระทำที่ทำได้ยากอันเผ็ดร้อนนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในบัดนี้นั้น เป็นการ ไม่ทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมี ความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะ สิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะ สิ้นเวทนา จักเป็นอันพวกท่านสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ก็แหละคำนั้นถูกใจและควร แก่พวกข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชม ฯ [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าว กะพวกนิครนถ์นั้น ดังนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือความเชื่อ ความชอบใจ การฟัง ตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เหล่านี้แล ธรรม ๕ ประการ มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน บรรดาธรรม ๕ ประการนั้น พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ มีความเชื่ออย่างไร ชอบใจอย่างไร ร่ำเรียนมาอย่างไร ได้ยินมาอย่างไร ตรึกตามอาการอย่างไร ปักใจดิ่งด้วยทิฐิอย่างไร ในศาสดาผู้มี วาทะเป็นส่วนอดีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการ โต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์ ฯ [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด พวกท่าน มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวก ท่านไม่มีความความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า ฯ นิครนถ์รับว่า พระโคดมผู้มีอายุ สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า สมัยใด พวกข้าพเจ้าไม่มี ความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมไม่ เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า ฯ [๙] พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า สมัยใด พวก ท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อม เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัด ได้แล้ว ฯ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าสมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความ เพียรแรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุดได้เอง และสมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียร แรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุดได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ควรพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคล นี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัด ได้แล้ว ฯ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายาม แรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงไม่เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า พวกท่านนั้นเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียรเองทีเดียว ย่อมเชื่อผิดไป เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรามีวาทะแม้อย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุ อะไรๆ ในพวกนิครนถ์ ฯ [๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนา ได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ในชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด พวกนิครนถ์นั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล ในชาติหน้า ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลในปัจจุบันด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล เป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายามหรือด้วยความ เพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรม นั้นจงเป็นของให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล ยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงเป็น ของให้ผลน้อย ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความ เพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็น ของอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด ฯ นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ [๑๑] พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านจะ พึงปรารถนาไม่ได้ดังนี้ว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงเป็น ของให้ผลในชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด เป็นของให้ผลในชาติหน้า ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความ พยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด เป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่า กรรมใดเป็นของให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรม นั้นจงเป็นของให้ผลน้อย ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด เป็นของให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือ ด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรม นั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายามของพวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ไร้ผล ความเพียรก็ไร้ผล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ การกล่าวก่อนและการ กล่าวตาม ๑- ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง @๑. คือวาทะของพวกครู และอนุวาทะของศิษย์ที่ว่าตามกัน กรรมที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้ทำกรรมชั่วไว้ก่อนแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อม เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้ถูกอิศวร ชั้นเลวเนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวก นิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความบังเอิญชั่วแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง อภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความพยายามใน ปัจจุบันเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบเห็น ปานนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ก็ ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวก นิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความ บังเอิญ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะ เหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและ ทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้า หมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวก นิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ การกล่าว ก่อนและการกล่าวตาม ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะ อย่างนี้ ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามไร้ผล ความ เพียรไร้ผล อย่างนี้แล ฯ [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล ความ เพียรจึงจะมีผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความ สุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้ง ความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่ง ทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอพึงเริ่มตั้งความ เพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่ง ทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็ เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว ฯ [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจา กระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ คับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้แก่ เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้นมีความดำริอย่างนี้ว่า เรา กำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าใน หญิงคนโน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ คับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ ร่าเริงอยู่กับชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้น ที่เรามีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมา เขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคน โน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ฯ ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้น แล้ว ฉะนั้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความ คับแค้นใจ จึงไม่เกิดขึ้นแก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดกระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่ กับชายอื่น ฯ [๑๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไม่เอาทุกข์ ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้ หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จะยังมีเหตุ แห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอจึงเริ่มตั้งความเพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมี วิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมี เหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุ แห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญ อุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่ม ตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่า- *กระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้อง เริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างศร ย่างลน- *ลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรเป็นของอัน ช่างศรย่างลนบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศร นั้นไม่ต้องย่างลนลูกศรนั้นบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะช่างศรนั้นพึงย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขาเป็นอันสำเร็จ แล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา ช่างศรจึงไม่ต้องย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ ตรงจนใช้การได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรม ย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึง เริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อม เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความ ลำบากได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อ ความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนเกิด ภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความ เชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขา ขัดแล้วนี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละ โภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง ละเครือญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึง พร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ ละอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจาก อทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่ ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นเมถุนอันเป็นธรรมดาของชาวบ้าน ละมุสาวาท เป็นผู้เว้น ขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์ เป็นหลักฐานเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่าย นี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่ บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกแยกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน หรือเมื่อเขาดีกันอยู่ก็ส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อม- *เพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน ละวาจาหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนา และชอบใจ ละการเจรจาเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าว ถูกกาล กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย เป็นผู้ กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล เธอเป็นผู้เว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลา ราตรี เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรง และตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่ง ตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เป็นผู้เว้นขาด จากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ ๑- เป็นผู้เว้นขาด จากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและกุมารี เป็นผู้เว้นขาดจาก @๑. ข้าวเปลือกชนิดที่เขาใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินและทองกันในสมัยนั้น การรับทาสีและทาส เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เป็นผู้เว้นขาดจาก การรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและลา เป็นผู้เว้น ขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการ รับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วย ตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาด จากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและการกรรโชก เธอเป็นผู้สันโดษด้วย จีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปที่ใดๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีก จะบินไปที่ใดๆ ย่อมมีแต่ปีก ของตัวเท่านั้นเป็นภาระบินไป ฯ [๑๗] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุข อันปราศจากโทษในภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต และโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษา จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ได้ดมกลิ่น ด้วยฆานะ ... ได้ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... ได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวม ในมนินทรีย์ ฯ [๑๘] เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อม เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ในภายใน เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอย กลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลาคู้เข้าและเหยียดออก ในเวลาทรง สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง ฯ [๑๙] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วย อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหาร แล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย คือพยาบาท เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ [๒๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำ ปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มี ความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะ หน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะ เรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายาม มีผล ความเพียรมีผล ฯ [๒๔] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยใน ชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบ ชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัป บ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มี กำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและ ทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ เธอย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ [๒๕] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย มอง- *เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้ เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจ มิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ผู้กำลัง เป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ [๒๖] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ความพยายามจึงมีผล ความเพียร จึงมีผล ฯ [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ วาทะ ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะควรสรรเสริญ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตนทำไว้ในก่อน ตถาคตต้องเป็นผู้ทำกรรมดีไว้ในก่อนแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวย เวทนาอันเป็นสุขหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะ เหตุที่อิศวรเนรมิตให้ ตถาคตต้องเป็นผู้อันอิศวรชั้นดีเนรมิตแน่ ผลในบัดนี้ จึง เสวยเวทนาอันเป็นสุขหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ ตถาคตต้องเป็นผู้มีความบังเอิญดีแน่ ผลในบัดนี้ จึง เสวยเวทนาอันเป็นสุขหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตต้องเป็นผู้มีอภิชาติดีแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยเวทนา อันเป็นสุขหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุ แห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตต้องเป็นผู้มีความพยายามในปัจจุบันดีแน่ ผล ในบัดนี้ จึงเสวยเวทนาอันเป็นสุขหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า หมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ตถาคต ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำ ไว้ในก่อน ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะ เหตุที่อิศวรเนรมิตให้ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่ เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้า หมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตก็ต้องน่า สรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามใน ปัจจุบัน ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุ แห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต มีวาทะอย่างนี้ วาทะ ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงถึงฐานะควรสรรเสริญ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ เทวทหสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)
---------------------------
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๒๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณ- *พราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ คือ พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตาย ไป พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เป็น ของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป อีกพวกหนึ่งบัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ และอีกพวกหนึ่งกล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน เป็น- *อันว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีอยู่ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน อีกพวกหนึ่ง รวมบทแห่งความเชื่อมั่น เหล่านี้ เป็น ๕ บท แล้ว เป็น ๓ บท เป็น ๓ ขยายเป็น ๕ นี้อุเทศของบทห้า ๓ หมวด ของความเชื่อมั่น ฯ [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านสมณพราหมณ์ พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๗) ชนิดมีสัญญาย่อมเยา ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันวิญญาณกสิณของอัตตามีสัญญาชนิดใด ชนิดหนึ่งเหล่านี้ ที่เป็นไปล่วงชนิดทั้ง ๗ ว่า หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณพราหมณ์ พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตาย ไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๗) ชนิดมีสัญญาย่อมเยา ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันอากิญจัญญายตนะว่า หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหว ด้วยเหตุที่สัญญาอันบัณฑิตกล่าวว่าบริสุทธิ์ เยี่ยมยอด ไม่มีสัญญา อื่นยิ่งกว่าสัญญาเหล่านี้ทั้งที่เป็นสัญญาในรูป ทั้งที่เป็นสัญญาในอรูป ทั้งที่เป็น สัญญาอย่างเดียวกัน ทั้งที่เป็นสัญญาต่างกัน ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เรื่องสัญญาดังนี้ นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง นั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านสมณ- *พราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติ อัตตาที่ไม่มีสัญญา (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวก บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์ พวกอสัญญีวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะสัญญาเป็นเหมือนโรค เป็นเหมือน หัวฝี เป็นเหมือนลูกศร สิ่งดี ประณีต นี้คือความไม่มีสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตาย ไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจัก บัญญัติการมาเกิด หรือการไปเกิด การจุติ การอุปบัติ ความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ นอกจากรูป นอกจากเวทนา นอกจากสัญญา นอกจากสังขาร นอกจากวิญญาณ คำกล่าวดังนี้ของสมณพราหมณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ เรื่อง ไม่มีสัญญาดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก จากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านสมณ- *พราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้า แต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวก บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวก เนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่า ยั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ นั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะสัญญาเป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็น เหมือนลูกศร ความไม่มีสัญญา เป็นความหลง สิ่งดี ประณีตนี้ คือ ความมี สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี (๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติการเข้า อายตนะนี้ ด้วยเหตุเพียงสังขารที่ตนรู้แจ้ง โดยได้เห็นได้ยินและได้ทราบ การ บัญญัติของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นความพินาศของการ เข้าอายตนะนี้ เพราะอายตนะนี้ ท่านไม่กล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของ สังขาร แต่ท่านกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของขันธ์ที่เหลือจากสังขาร เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความ ดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ที่กำหนดขันธ์ส่วน อนาคตนั้น สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิด ของสัตว์ที่มีอยู่ แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ว่ายั่งยืน เบื้อง หน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอุจเฉทวาทะนั้น แม้ท่านสมณ- *พราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกอุจเฉทวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะ ท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมหมายมั่นกาลข้างหน้า กล่าวยืนยัน ความหวังอย่างเดียวว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ๆ เปรียบเหมือนพ่อค้า ไปค้าขายย่อมมีความหวังว่า ผลจากการค้าเท่านี้ จักมีแก่เรา เพราะการค้าขายนี้ เราจักได้ผลเท่านี้ ดังนี้ฉันใด ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ชะรอยจะเห็นปรากฏเหมือนพ่อค้า จึงหวังว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิด ของสัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไปตามสักกายะ อยู่นั่นแล เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาผูกโซ่ล่ามไว้ที่เสาหรือที่หลักมั่น ย่อมวนเวียน ไปตามเสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นแล เรื่อง สักกายะดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ ส่วนอนาคต มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าว ยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม กล่าวยืนยันอายตนะ ๕ นี้ทั้งมวล หรือเฉพาะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มี- *ทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวยืนยันบทแห่งความ เชื่อมั่นหลายประการ คือ พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่าง อื่นเปล่า พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีที่สุด... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาย่อมเยา... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว... พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์... พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ฯ [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ พวกใด มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่าง อื่นเปล่า ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์พวกนั้น จักมี เองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านสมณ- *พราหมณ์พวกนั้น ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้นแจ่มแจ้ง แม้ส่วน ของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่า อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น เรื่อง อุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ พวกใด มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น เปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น เปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาย่อมเยา นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า... ว่า อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความ ปักใจดิ่งด้วยทิฐิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านสมณ- *พราหมณ์พวกนั้นๆ ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้นแจ่มแจ้ง แม้ ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก จากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะ ไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่ วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะ โทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อม แผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัส ดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วน อนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึง สิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอ ย่อมดับไป ได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิด แต่วิเวก เรื่องปีติเกิดแต่วิเวกดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และ ความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็น เครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ เกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขเสมือนปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลัง เข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เปรียบเหมือน ร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อม แผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิส ดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือน ปราศจากอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วน อนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขเสมือน ปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุข อยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือน ปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับย่อม เกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เรื่องสุขเสมือนปราศจากอามิสดังนี้นั้น อันปัจจัย ปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบ ว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็น ไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะ ไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็น ทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือน ปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เปรียบเหมือนร่ม เงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุข ก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบ เรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วน อนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจาก อามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรา กำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เรื่องเวทนาอันทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมี อยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะ ไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการ ทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วน อนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจาก อามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็น ผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ท่านผู้นี้ ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทา ที่ให้สำเร็จนิพพานอย่างเดียวโดยแท้ แต่ก็ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อถือมั่น ทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อย ตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นปีติอันเกิดแต่วิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อ ถือมั่นสุขเสมือนปราศจากอามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นเวทนาอัน เป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเอง ว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น บัณฑิตก็เรียกว่า อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์นี้ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็น ของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งนั้นได้ ฯ [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้น ได้ด้วยไม่ถือมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ปัญจัตตยสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. กินติสูตร (๑๐๓)
[๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าชัฏ สถานที่บวงสรวงพลี เขตเมืองกุสินารา สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีความดำริ ในเราบ้างหรือว่า สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้ ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่มีความ ดำริในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพ น้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้ ฯ [๔๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า พวกเธอไม่มีความดำริในเรา อย่างนี้เลยว่า สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอมีความดำริในเราอย่างไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์มีความดำริในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้แล ว่าพระผู้มีพระภาคผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม ฯ [๔๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริในเราอย่าง นี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ อนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้นแล ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อ พวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป ฯ [๔๕] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้ แล มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสอง รูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ ความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มี อายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่าย เดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ ความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มี อายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุ ทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น ฯ [๔๖] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้ แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญ ภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่ เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้ โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย พยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญ ภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าว แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกัน ได้โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้ โดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวก เธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิด และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น ถือถูก โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าว ข้อนั้น ฯ [๔๗] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสองนี้ แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุ รูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธอ อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดย พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็น ฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ขอ ท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่ โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึง ต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสอง นั้น ถือถูก โดยเป็นข้อถูก และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น ฯ [๔๘] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง นี้แล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูป ใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง นี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวก เธอสำคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดย อรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สม กันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่างถึงต้อง วิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก โดยเป็น ข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น ฯ [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวิติกกมโทษ พวกเธออย่า เพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้ ความ ไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคล ผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า พวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา แต่ความ ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มี ความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจาก อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่อง เล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็น เรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา แต่ ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนไม่มัก โกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออก จากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่อง ใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความ ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มี ความผูกโกรธ มีทิฐิมั่น สละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง อยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความ ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความ ผูกโกรธ มีทิฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง อยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้ ฯ [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดเล่นสำนวนกัน แข่งขันกันด้วยทิฐิ ผูกใจ เจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น พวกเธอพึงสำคัญภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียว กันในที่นั้นรูปใดว่า ว่าง่าย พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดเล่นสำนวนกัน แข่งขันกันด้วยทิฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เรื่อง ที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดเล่น สำนวนกัน แข่งขันกันด้วยทิฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น นั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่นๆ จะพึงถามเธอว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละภาวะที่ดำรงอยู่นี้แล้วจะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละภาวะที่ดำรงอยู่นี้แล้วแล จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้ ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่าย พึงเข้าไป หารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียง กัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดเล่นสำนวนกัน แข่งขันกัน ด้วยทิฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรง ทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง ชี้แจงอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดเล่นสำนวนกัน แข่งขันกันด้วยทิฐิ ผูกใจเจ็บ กัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่นๆ จะพึงถามเธอว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละภาวะที่ดำรงอยู่นี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละภาวะที่ดำรงอยู่นี้แล้วแล จะพึง ทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอื่นๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านให้ภิกษุเหล่า นี้ของพวกเรา ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์ โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรม ของพระองค์แล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมแล้ว ออกจาก อกุศล และดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้ แล ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมด้วย ทั้งการ กล่าวก่อนและการกล่าวตามกันอะไรๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่ถึงฐานะน่าตำหนิ ด้วย ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ กินติสูตรที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. สามคามสูตร (๑๐๔)
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคาม ในสักกชนบท ก็สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของ นิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาท กัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของ เรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลัง คำที่ ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของท่านที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คำพูดหรือจงถอนคำเสีย ถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตายประการเดียวเท่านั้นเป็น สำคัญ เป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นาฏบุตร แม้สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรฝ่าย คฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวก นิครนถ์ศิษย์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในธรรมวินัย ที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความ สงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่พัง ไม่เป็นที่พึ่ง อาศัยได้ ฯ [๕๒] ครั้งนั้นแล สมณุทเทสจุนทะ จำพรรษาที่เมืองปาวาแล้วเข้าไป ยังบ้านสามคามหาท่านพระอานนท์ กราบท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของท่าน ที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คำพูดหรือจงถอนคำเสีย ถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตายประการเดียวเท่านั้นเป็นสำคัญ เป็น ไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นาฏบุตร แม้สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้ นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์ นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในธรรมวินัย ที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่พัง ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ เมื่อ สมณุทเทสจุนทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวดังนี้ว่า ดูกรจุนทะผู้มี อายุ เรื่องนี้ มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด เราทั้ง ๒ จักเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค สมณุทเทสจุนทะรับคำ ท่านพระอานนท์แล้ว ฯ [๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์และสมณุทเทสจุนทะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณุทเทสจุนทะนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ฯลฯ แม้สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย คลาย ยินดี มีใจถอยกลับในธรรมวินัย ที่นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่ นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธให้ รู้ทั่ว เป็นสถูปที่พัง ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มี ความดำริอย่างนี้ว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคล่วงลับไป ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้น ในสงฆ์เลย ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ฯ [๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติ- *ปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ ดูกรอานนท์ เธอจะยังเห็นภิกษุของเรา แม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้ ในธรรมเหล่านี้หรือ ฯ ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด อัน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ มีได้แล ที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น พอสมัยพระผู้มี- *พระภาคล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือ ปาติโมกข์อันยิ่ง ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์ อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือ ปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ฯ [๕๕] ดูกรอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน ดูกรอานนท์ (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่เป็น ผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ใน พระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ใน สิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้ เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูกรอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายใน หรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียใน ที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภาย นอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อ ไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการ เช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วย อาการเช่นนี้ ฯ [๕๖] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก (๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ... (๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่... (๔) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา... (๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด... (๖) ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืนได้ยาก ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือ รั้น สละคืนได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ใน พระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดใน สงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูกร อานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภาย นอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้า พวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวก เธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลาม ต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง ฯ [๕๗] ดูกรอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน คือ วิวาทา ธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล อธิกรณ์ ๔ อย่าง ฯ ดูกรอานนท์ ก็อธิกรณ์สมถะนี้มี ๗ อย่างแล คือ เพื่อระงับอธิกรณ์อัน เกิดแล้วๆ สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ฯ [๕๘] ดูกรอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมวิวาทกัน ว่าเป็นธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าเป็นวินัยหรือมิใช่วินัย ดูกร อานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแล พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณาแบบแผน ธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบ แผนธรรมนั้น ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัย ก็แหละความระงับ อธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้ ฯ [๕๙] ดูกรอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจ ระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุ ทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผน ธรรมนั้น ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์ บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้ ฯ [๖๐] ดูกรอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่าน ผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลย ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็น เช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้ ฯ [๖๑] ดูกรอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรม วินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุ จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือ ใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้า ระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้ เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าถึงความ เป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็น บ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดไป ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลง ทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมุฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล เป็นอมูฬหวินัย ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้ ฯ [๖๒] ดูกรอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้ เธอพึงเข้า ไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้านั่งกระหย่งประคอง อัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึงถึงความสำรวมต่อไปเถิด เธอกล่าว ว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะ อย่างนี้ ฯ [๖๓] ดูกรอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้า ระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลย ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยน เธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่า ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกใครถามยังรับ ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้ เคียงปาราชิกแล้ว ถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ท่านต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบัติหนัก เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้แล ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้ เคียงปาราชิกแล้ว คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาดไป ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นตัสสปาปิยสิกา ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัย นี้ ย่อมมีได้ด้วยตัสสปาปิยสิกาอย่างนี้ ฯ [๖๔] ดูกรอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรม วินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงและได้พูดละเมิดกรรมอัน ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวร เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ ล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความ พรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้น อาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วย หญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ต่อนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวร เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ ล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความ พรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยก เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล เป็นติณวัตถารกะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้ ฯ [๖๕] ดูกรอานนท์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อ ความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความ พร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน (๑) ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้คือธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อ สงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ประการหนึ่ง ฯ (๒) ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้ก็ธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อ สงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ฯ (๓) ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีมโนกรรมประกอบด้วย เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้ก็ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อ สงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ฯ (๔) ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีลาภใดๆ เกิดโดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร เป็นผู้ไม่แบ่งกันเอาลาภเห็นปาน นั้นไว้บริโภคแต่เฉพาะผู้เดียว ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อนร่วมประพฤติ พรหมจรรย์ผู้มีศีล นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียง กัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ (๕) ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดย ศีล ในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญู ชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่แตะต้อง เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์ กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ (๖) ดูกรอานนท์ ประการอื่นๆ ยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิ ในทิฐิที่เป็นของพระอริยะ อันนำออก ชักนำผู้กระทำตามเพื่อความสิ้น ทุกข์โดยชอบ เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้ง ทั้ง ในที่ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์ เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ฯ ดูกรอานนท์ นี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็น เหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ [๖๖] ดูกรอานนท์ ถ้าพวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ ประพฤติอยู่ พวกเธอจะยังเห็นทางว่ากล่าวพวกเราได้ น้อยก็ตาม มากก็ตาม ซึ่งจะอดกลั้นไว้ไม่ได้ละหรือ ฯ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ ประพฤติเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่พวกเธอ ตลอดกาลนาน ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สามคามสูตร ที่ ๔
-----------------------------------------------------
๕. สุนักขัตตสูตร (๑๐๕)
[๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขต พระนครเวสาลี ก็สมัยนั้นแล มีภิกษุมากรูปด้วยกันทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนัก ของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๖๘] พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบข่าวว่า มีภิกษุมากรูปด้วยกันได้ ทูลพยากรณ์อรหัตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระ ผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า มีภิกษุมาก ด้วยกันได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์อรหัตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลโดยชอบหรือ หรือว่า ภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ ฯ [๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุนักขัตตะ พวกภิกษุที่พยากรณ์ อรหัตผลในสำนักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี นั้น มี บางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มีภิกษุบางเหล่าในที่นี้ ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุบ้าง ดูกรสุนักขัตตะ ใน ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้นั้น ย่อมมีอรหัตผล จริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าธรรม วินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริ ในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป ฯ พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ขณะนี้เป็นกาลสมควร แล้วๆ ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาค แล้ว จักทรงจำไว้ ฯ พ. ดูกรสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ต่อไป ฯ พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๗๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ (๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ [๗๑] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม ใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่ โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใคร พูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไปใหม่ๆ ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากินดี และมี โรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหา- *กินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ คบบุรุษนั้น และถึงความใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ ฯ สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนใน โลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อม ใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น บุคคลที่ เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ฯ [๗๒] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม ใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน อาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อม ตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจ กับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิสของปุริส- *บุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบ เถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยว- *ข้องในโลกามิส ฯ [๗๓] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไป ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ เท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คบแต่คน ชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับ อาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคน ชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออก เป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของปุริสบุคคลผู้น้อม ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบ เถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความ เกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ฯ [๗๔] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม ใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้ น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญา- *นาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญา- *ยตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใคร พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบ เหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เขาจะพึงมีความปรารถนาในภัตนั้นบ้างไหมหนอ ฯ สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. นั่นเพราะเหตุไร ฯ สุ. เพราะว่าภัตโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว ฯ พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอากิญ- *จัญญายตนสมาบัติ อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ คายได้แล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอากิญจัญ- *ญายตนสมาบัติ ฯ [๗๕] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้น้อมใจ ไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพาน โดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับ คนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อม ไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้นและไม่ถึงความ ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญา- *ยตนสมาบัติ อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัดขาดแล้ว ถอนราก ขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุตั้งอยู่ได้ดังต้นตาล ถึงความเป็นไปไม่ได้แล้ว มีความไม่เกิด ต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็นปุริสบุคคลผู้น้อม ใจไปในนิพพานโดยชอบ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญา- *ยตนสมาบัติ ฯ [๗๖] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริ อย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัด โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่น เป็นฐานะที่มีได้แล สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียง อันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วย มโน เมื่อเธอประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่ง เสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่ เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตามกำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัด แล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษ อาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา หมอ ผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร แล้ว ถอนลูกศรออก กำจัดโทษคือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติด อยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว โทษ คือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว ท่านหมดอันตราย และพึงบริโภค โภชนะที่สบายได้ เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้องชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา เมื่อท่านชะแผลทุก เวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดรัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลม ตากแดดไป เนืองๆ แล้วก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตามทำลายปากแผลได้ ดูกรพ่อ มหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะประสานกัน บุรุษนั้นมีความ คิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษหมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อ เหลือติดอยู่แล้ว เราหมดอันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะ ที่แสลงอยู่ แผลก็กำเริบ และไม่ชะแผลทุกเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลทุก เวลา เมื่อเขาไม่ชะแผลทุกเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลทุกเวลา น้ำเหลือง และเลือดก็รัดปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ไปเนืองๆ เมื่อเขาเที่ยว ตากลม ตากแดดไปเนืองๆ แล้ว ปล่อยให้ละอองและของโสโครกติดตาม ทำลายปากแผลได้ ไม่คอยรักษาแผลอยู่ จนแผลประสานกันไม่ได้ เพราะ เขาทำสิ่งที่แสลงนี้แล แผลจึงถึงความบวมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ ไม่ กำจัดของไม่สะอาดและโทษคือพิษอันยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ เขามีแผลถึงความ บวมแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้ ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ ฉัน นั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอกงามได้ ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็น ฐานะที่มีได้ สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบเนืองๆ ซึ่ง อารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียง อันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนืองๆ ซึ่ง โผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่ เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะ คือ รูปอันไม่เป็น สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตามกำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ดูกรสุนักขัตตะ ก็ความตายนี้ในวินัยของพระอริยะ ได้แก่ลักษณะที่ภิกษุ บอกคืนสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อหีนเพศ ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะที่ภิกษุ ต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง ฯ [๗๗] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริ อย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็น ฐานะที่มีได้แล เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบนั่นแล เธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบแล้ว ได้แก่ไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ไม่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมา- *รมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอัน ไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่ สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบ เหมือนบุรุษถูกลูกศรมียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา ครั้นแล้ว ใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร แล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษคือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือ ติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลืออยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ เราถอน ลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว ท่าน หมดอันตราย และพึงบริโภคโภชนะที่สบายได้ เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้องชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุก เวลา เมื่อท่านชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา อย่าให้น้ำเหลือง และเลือดรัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ เมื่อท่าน เที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ แล้ว ก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตาม ทำลายปากแผลได้ ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะ ประสานกัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษ คือพิษหมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เราหมดอันตราย เขาจึงบริโภค โภชนะที่สบาย เมื่อบริโภคโภชนะที่สบายอยู่ แผลก็ไม่กำเริบ และชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา เมื่อเขาชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่รัดปากแผล และเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ เมื่อ เขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ ละอองและของโสโครกก็ไม่ติดตามทำลาย ปากแผล เขาคอยรักษาแผลอยู่ จนแผลหายประสานกัน เพราะเขาทำสิ่งที่สบาย นี้แล แผลจึงหายได้ด้วย ๒ ประการ คือ กำจัดของไม่สะอาดและโทษคือพิษ จนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เขามีแผลหาย ผิวหนังสนิทแล้ว จึงไม่พึงเข้าถึง ความตาย หรือทุกข์ปางตาย ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหา ไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เรา ละลูกศรคือตัณหาได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจ น้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ อยู่นั่นแล เธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไป ในนิพพานโดยชอบแล้ว ได้แก่ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่ สบายด้วยจักษุ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ไม่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็น ที่สบายด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ เนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบาย ด้วยโสต ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน แล้ว ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึง ความตาย หรือทุกข์ปางตาย ดูกรสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความ เนื้อความ ในอุปมานี้ คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ โทษคือพิษ เป็นชื่อของ อวิชชา ลูกศร เป็นชื่อของตัณหา เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ศาตรา เป็นชื่อของ ปัญญาของพระอริยะ หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดย ชอบแล้ว ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันที่เป็น กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรส แต่ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๘] พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความ สำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่าอุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึง เป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อย จิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูกรสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษ ร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมา ถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ หัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึง ความตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๙] พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ ความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือ ปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว พระสุนักขัตตะลิจฉวีบุตรชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สุนักขัตตสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------
๖. อาเนญชสัปปายสูตร (๑๐๖)
[๘๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรม ของชาวกุรุ ในแคว้นกุรุ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๘๑] พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็น ของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่ง มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้ เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป กามนั่นเอง ย่อม เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้น ดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้ง ที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อ แห่งมาร เป็นที่หากินของมาร ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจ คืออภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อ เป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ไฉนหนอ เราพึงมี จิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ เพราะเมื่อเรามีจิตเป็น มหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ อกุศลลามกเกิดที่ใจ ได้แก่ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง นั้นจักไม่มี เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้ จิตของเราที่ไม่เล็กน้อยนั่นแหละ จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้ อันเราอบรม ดีแล้ว เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม ผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจ ไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑ ฯ [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อริยสาวกพิจารณาเห็น ดังนี้ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่ มีในภพหน้า ซึ่งรูปบางชนิดและรูปทั้งหมด คือ มหาภูต ๔ และรูปอาศัยมหาภูต ทั้ง ๔ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ด้วยประการนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทา นั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไป ในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่ มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อ ที่ ๒ ฯ [๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้าและกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควร ยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึง อาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่ วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหว มิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๓ ฯ [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และอาเนญชสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั้นคืออากิญจัญญายตนะ อันดี ประณีต เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่ วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่น เป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตน- *สมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑ ฯ [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อริยสาวกอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สิ่งนี้ว่างเปล่าจากตน หรือจากความเป็นของตน เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วย ปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญ- *จัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณ อันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็น ฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่ ๒ ฯ [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราไม่มีในที่ไหนๆ สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ หามีในเรานั้นไม่ และ สิ่งน้อยหนึ่งของเราก็หามีในที่ไหนๆ ไม่ ในใครๆ ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจ ไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๓ ฯ [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญา ทั้งที่มีใน ภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และอาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั่นคือเนวสัญญานาสัญญายตนะอันดี ประณีต เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม ผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือ จะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปใน ภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพเนวสัญญานาสัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็น ที่สบาย ฯ [๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ แล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และ จักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพานหรือหนอ หรือว่าไม่พึงปรินิพพาน ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพ นี้ก็มี บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุ บางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี บางรูปไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี ฯ [๙๐] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย เธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขา นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัย อุเบกขานั้น ยึดมั่นอุเบกขานั้น ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นอยู่ ย่อมปรินิพพาน ไม่ได้ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน ฯ พ. ดูกรอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐ สุดที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้ คือ เนวสัญญา- *นาสัญญายตนะ ฯ [๙๑] ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อม ได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย เธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ อุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณก็ ไม่เป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น และไม่ยึดมั่นอุเบกขานั้น ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ไม่มี ความยึดมั่น ย่อมปรินิพพานได้ ฯ อา. น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า ไม่น่าเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อาศัยเหตุนี้ เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่ พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มี ในภพหน้า ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่งอาเนญชสัญญา ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญา- *นาสัญญายตนสัญญา ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้ ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายแล้ว เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว เรา แสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว อาศัยเหตุนี้ เป็น อันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนใน ภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ อาเนญชสัปปายสูตร ที่ ๖
-----------------------------------------------------
๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคาร มารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการ ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่าง ของบันไดชั้นล่าง แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบ เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องใช้อาวุธ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจ หรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ โดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ [๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ [๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วย ชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน แล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรม อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน มนินทรีย์เถิด ฯ [๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ ในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ จะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา ฯ [๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน จงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน จงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ [๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและ ปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ [๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ ลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้ ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีน- *มิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ [๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ สัมปชัญญะ ฯ [๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัล- *ลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดม ผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุก รูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บาง พวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ใน เมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ [๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา จะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่า รื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่ หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมือง ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดย สวัสดี ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์ ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอัน ท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ฯ ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า เป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ [๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็ ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความ สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ [๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมค- *คัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวกที่ ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้ โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจา เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน ทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มี ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคน เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่ง ความเป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติ มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าใน ความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่น รู้สึกตัว มั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่ มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่น จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ ฉันใด โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบ คณกโมคคัลลานสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------
๘. โคปกโมคคัลลานสูตร (๑๐๘)
[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขต พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร เป็นจอมแห่ง มคธรัฐ ทรงระแวงพระเจ้าปัชโชต ๑- จึงรับสั่งให้ซ่อมแซมพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์นุ่งสบง ทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร ราชคฤห์ในเวลาเช้า ขณะนั้น ท่านมีความดำริดังนี้ว่า ยังเช้าเกินควรที่จะเที่ยว บิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ก่อน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะยังที่ทำงานและที่อยู่เถิด ครั้นแล้วท่านพระอานนท์จึงเข้าไปยังที่นั้น พราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะแลเห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ไกล จึงได้กล่าว กะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า นิมนต์เถิด พระอานนท์ผู้เจริญ ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านได้แวะเวียนมาที่นี่ นิมนต์นั่งเถิด นี่อาสนะแต่งตั้งไว้แล้ว ท่านพระอานนท์นั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว ฝ่ายพราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะ ก็ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่งลง ฯ [๑๐๖] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะ ได้ กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่ง บ้างไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระโคดม ผู้เจริญพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว ฯ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึง พร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่ มีใครบอก ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วน @๑. พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี ฯ เหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่ ก็แหละ คำพูดระหว่างท่านพระอานนท์กับพราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะได้ค้างอยู่เพียงนี้ ฯ [๑๐๗] ขณะนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ เที่ยว ตรวจราชการในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไปยังที่ทำงานของพราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะ ที่มีท่านพระอานนท์อยู่ด้วย แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่าน พระอานนท์ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ข้าแต่ พระอานนท์ผู้เจริญ ณ บัดนี้ พระคุณท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และพระคุณท่านพูดเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องที่พูดกันอยู่นี้ พราหมณ์ โคปกะ โมคคัลลานะได้ถามอาตมภาพอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มี ภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เมื่อพราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะถามแล้วอย่างนี้ อาตมภาพได้ตอบ ดังนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึง พร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้ แจ้งมรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่ นี่แลคำพูดระหว่างอาตมภาพกับพราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะได้ค้างอยู่ ต่อนั้นท่านก็มาถึง ฯ [๑๐๘] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ อันพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุ รูปนี้จักเป็นที่พึงอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ ในบัดนี้ ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อ เราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพ ทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ ฯ [๑๐๙] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า อัน สงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้า ทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระ มากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหา ได้ในบัดนี้ ฯ ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอาศัยอย่างนี้ อะไรเล่าจะ เป็นเหตุแห่งความสามัคคีกันโดยธรรม ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลายมิใช่ไม่มีที่พึ่งอาศัยเลย พวก อาตมภาพมีที่พึ่งอาศัย คือ มีธรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ฯ [๑๑๐] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมถามพระคุณเจ้าดังนี้ว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ อันพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้า ทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้ สักรูปหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต- *สัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่ง อาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาในบัดนี้ กระผมถาม ต่อไปว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกัน สมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้ จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็น เถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป แล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึง เข้าไปหาได้ในบัดนี้ และกระผมถามต่อไปว่า ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอาศัยอย่างนี้ อะไร เล่าจะเป็นเหตุแห่งความสามัคคีกันโดยธรรม พระคุณเจ้าตอบว่า ดูกรพราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลายมิใช่ไม่มีที่พึ่งอาศัย พวกอาตมภาพมีที่พึ่งอาศัย คือ มีธรรมเป็นที่ พึ่งอาศัย ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ก็คำที่พระคุณเจ้ากล่าวแล้วนี้ กระผมจะพึง เห็นเนื้อความได้อย่างไร ฯ [๑๑๑] อา. ดูกรพราหมณ์ มีอยู่แล ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุทั้งหลาย ทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย ทุกๆ วันอุโบสถ อาตมภาพ ทั้งหลายเท่าที่มีอยู่นั้น จะเข้าไปอาศัยคามเขตแห่งหนึ่งอยู่ ทุกๆ รูปจะประชุม ร่วมกัน ครั้นแล้วจะเชิญภิกษุรูปที่สวดปาติโมกข์ได้ ให้สวด ถ้าขณะที่สวด ปาติโมกข์อยู่ ปรากฏภิกษุมีอาบัติและโทษที่ล่วงละเมิด อาตมภาพทั้งหลายจะให้ เธอทำตามธรรม ตามคำที่ทรงสั่งสอนไว้ เพราะฉะนั้น เป็นอันว่า ภิกษุผู้เจริญ ทั้งหลาย มิได้ให้พวกอาตมภาพกระทำ ธรรมต่างหากให้พวกอาตมภาพกระทำ ฯ ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ซึ่ง พระคุณเจ้าทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ มีอยู่รูปหนึ่งแล ซึ่งอาตมภาพทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ฯ [๑๑๒] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมถามพระคุณเจ้าดังนี้ว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ อันพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้า ทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลย แม้สักรูปหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้ จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ กระผมถามต่อไปว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมาก รูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหา ได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพ ทั้งหลายจักพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ กระผมถามต่อไปว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้าง ไหมหนอ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้น สักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูกร- *พราหมณ์ มีอยู่รูปหนึ่งแล ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ คำที่พระคุณเจ้ากล่าวแล้วนี้ กระผมจะพึงเห็นเนื้อความได้อย่างไร ฯ [๑๑๓] อา. ดูกรพราหมณ์ มีอยู่แล ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสบอกธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใสไว้ ๑๐ ประการ บรรดาพวกอาตมภาพ รูปใดมีธรรมเหล่านั้น อาตมภาพทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกร พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ โคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลาย (๒) เป็นพหูสูต ทรงการศึกษา สั่งสมการศึกษา ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก เพ่งตามได้ด้วยใจ แทงตลอดดีด้วยความเห็น (๓) เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิตเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขา ได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนใน น้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิต มีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิต ยังไม่หลุดพ้น (๘) ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ- *วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจาก ชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติ ก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ฯลฯ ๑- ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ฯ ดูกรพราหมณ์ เหล่านี้แล ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสบอกไว้ บรรดาพวกอาตมภาพ รูปใดมีธรรมเหล่านี้ อาตมภาพทั้งหลายย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไป อาศัยอยู่ในบัดนี้ ฯ [๑๑๔] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวแล้วอย่างนี้ วัสสการพราหมณ์มหา- *อำมาตย์แห่งมคธรัฐ ได้เรียกอุปนันทะเสนาบดีมาพูดว่า ดูกรเสนาบดี ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ที่พระคุณเจ้าเหล่านี้ สักการะธรรมที่ควรสักการะ @๑. ดูข้อ ๒๕ เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชาอยู่อย่างนี้ ตกลงพระคุณเจ้าเหล่านี้ ย่อมสักการะธรรมที่ควรสักการะ เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชา ก็ในเมื่อพระคุณเจ้าเหล่านั้นจะไม่ พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาสิ่งนี้ พระคุณเจ้าเหล่านั้น จะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาสิ่งไร แล้วจะเข้าไปอาศัยสิ่งไรอยู่ได้เล่า ฯ [๑๑๕] ต่อนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ถามท่าน พระอานนท์ดังนี้ว่า ก็เวลานี้ พระอานนท์อยู่ที่ไหน ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ เวลานี้ อาตมภาพอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน ฯ ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ก็พระวิหารเวฬุวัน เป็นที่รื่นรมย์ เงียบเสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่พักผ่อนของมนุษย์ สมควรแก่ การหลีกออกเร้นอยู่หรือ ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ แน่นอน พระวิหารเวฬุวัน จะเป็นที่รื่นรมย์ เงียบ เสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่พักผ่อนของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่ ก็ด้วยมีผู้รักษาคุ้มครองเช่นท่าน ฯ [๑๑๖] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ความจริง พระวิหารเวฬุวัน จะเป็นที่รื่นรมย์ เงียบเสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่ พักผ่อนของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่ ก็ด้วยมีพระคุณเจ้าทั้งหลาย เพ่งฌานและมีฌานเป็นปรกติต่างหาก พระคุณเจ้าทั้งหลายทั้งเพ่งฌานและมีฌาน เป็นปรกติทีเดียว ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมขอเล่าถวาย สมัยหนึ่ง พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตพระนคร เวสาลี ครั้งนั้นแล กระผมเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นยังที่ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ณ ที่นั้นแล พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปรกติ แต่ก็ทรงสรรเสริญฌาน ทั้งปวง ฯ [๑๑๗] อา. ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญ ฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญ ฌานเช่นไร ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัด พยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้ ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิด ขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะ วิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง สรรเสริญฌานเช่นไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้ แล ฯ [๑๑๘] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เป็นอันว่า พระโคดมผู้เจริญ พระองค์นั้น ทรงติเตียนฌานที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ เอาละ กระผมมีกิจมาก มีกรณียะมาก จะขอลาไปในบัดนี้ ฯ อา. ดูกรพราหมณ์ ขอท่านโปรดสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ต่อนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์ แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ [๑๑๙] ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ หลีกไปแล้วไม่นาน พราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ ดังนี้ว่า ปัญหาของกระผม ซึ่งกระผมได้ถามพระอานนท์ผู้เจริญนั้น พระคุณเจ้า ยังมิได้พยากรณ์แก่กระผมเลย ฯ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ เราได้กล่าวแก่ท่านแล้วมิใช่หรือว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึง พร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้ง มรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่ ฯ
จบ โคปกโมคคัลลานสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. มหาปุณณมสูตร (๑๐๙)
[๑๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มี พระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระผู้มี- *พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอทูลถามปัญหาสักเล็กน้อย กะพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจะประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหาแก่ ข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งลงยังอาสนะ ของตน ประสงค์จะถามปัญหาข้อใด ก็ถามเถิด ฯ [๑๒๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล ฯ พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ฯ ภิกษุนั้นกล่าว ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล ฯ พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกัน หรือ หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่ อุปาทานจะอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความกำหนัดพอใจ ใน อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ [๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พึงมีหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า มี แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนใน โลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญา อย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล เป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ฯ [๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นรูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น ไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่ เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น สังขารขันธ์ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น ปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์ ดูกรภิกษุ ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ฯ [๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูป ขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สังขารขันธ์ นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ [๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็น อัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนา บ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็น อัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็ง เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็น สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็น รูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง เห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนา บ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น สังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขาร ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็น อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่ เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ [๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็น ทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนา อะไร เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็น ทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ พ. ดูกรภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป อาการที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา อาการที่กำจัด ฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนา อาการที่สุข โสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา อาการที่สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา อาการที่สุขโสมนัส อาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร อาการที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในสังขารได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสังขาร อาการที่สุขโสมนัสอาศัย วิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ อาการที่วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในวิญญาณได้ นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ [๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มี อนุสัยคือความถือตัว ว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง หมดในภายนอก ฯ พ. ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปใน ภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของ เรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้ง หมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้ง ที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง หมดในภายนอก ฯ [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่ เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น ไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้ง ที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
จบ มหาปุณณมสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------
๑๐. จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐)
[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มี พระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ [๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย ลำดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัต- *บุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้ เป็นอสัตบุรุษ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึง รู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า ฯ ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ [๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ อสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มี ถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ย่อม ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัต- *บุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ฯ [๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ ฯ [๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเบียดเบียนผู้ อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง นี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง นี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อ เจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ มิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็น ผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็น อุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศ โลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน ทำ ความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ของอสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่าง อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของ อสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ฯ [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ หรือไม่หนอ ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น สัตบุรุษ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า ฯ ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้ เป็นอสัตบุรุษ นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้ ฯ [๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ สัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำ อย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่าง สัตบุรุษ ฯ [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ฯ [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ ฯ [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษ ชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ ฯ [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ ฯ [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ ฯ [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงาน อย่างสัตบุรุษ ฯ [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่ บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ฯ [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่าง บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความ รู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อม บังเกิดในคติของสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความ เป็นผู้มีตนควรบูชาในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ จูฬปุณณมสูตร ที่ ๑๐
จบ เทวทหวรรค ที่ ๑
-----------------------------------------------------
หัวข้อเรื่องของเทวทหวรรคนั้น ดังนี้
๑. เรื่องเทวทหะ ๒. เรื่องปัญจัตตยะ ๓. เรื่องสำคัญอย่างไร ๔. เรื่องนิครนถ์ ๕. เรื่องพยากรณ์อรหัตตผล ๖. เรื่องแคว้นกุรุ ๗. เรื่อง พราหมณ์คณกะ ๘. เรื่องพราหมณ์โคปกะ ๙. และ ๑๐. เรื่องวันเพ็ญสอง วัน รวมเป็นวรรคสำคัญชื่อเทวทหวรรค ที่ ๑ ฯ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เทวทหสูตร ๒. ปัญจัตตยสูตร ๓. กินติสูตร ๔. สามคามสูตร ๕. สุนักขัตตสูตร ๖. อาเนญชสัปปายสูตร ๗. คณกโมคคัลลานสูตร ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร ๙. มหาปุณณมสูตร ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
-----------------------------------------------------
อนุปทวรรค
๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น บัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา เฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็น ดังต่อไปนี้ ฯ [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรม ในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่ พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ ความผ่องใสแห่งใจภายใน ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่ พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่ พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ก็ธรรมในตติยฌาน คือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่ พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ก็ธรรมในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเต- *กัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตร รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรม นั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรม เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น ให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากาสานัญ- *จายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดย ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ก็ธรรม ในอากาสานัญจายตนฌาน คือ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน กิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอัน กระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่ง ขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากาสา- *นัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตน- *ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้ แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญ- *จายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่ มีอะไรสักน้อยหนึ่ง อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตน ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้ แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญ- *ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็น ผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษ แล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญา นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็น ด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้น แล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการ นี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัด ออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็น ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน อริยวิมุติ ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้ ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน อริยวิมุติ ฯ [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรม ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศ ธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ ทีเดียว ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล ฯ
จบ อนุปทสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. ฉวิโสธนสูตร (๑๑๒)
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ [๑๖๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธออย่าเพ่อยินดี อย่าเพ่อคัดค้านคำกล่าวของภิกษุรูปนั้น ครั้นไม่ ยินดีไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาเธอว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ ชอบ นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ คำกล่าวว่า เห็นในอารมณ์ที่ตน เห็นแล้ว คำกล่าวว่า ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว คำกล่าวว่า ทราบในอารมณ์ ที่ตนทราบแล้ว คำกล่าวว่า รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว นี้แล โวหาร ๔ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจาก อาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ฯ [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้น สัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะ พยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำ ให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... พรากได้แล้วใน ธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ข้าพเจ้าไม่ ยินดี ไม่ยินร้าย ... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ มีใจอันกระทำให้ ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ... พรากได้แล้วในธรรม ที่ข้าพเจ้าได้รู้ชัด มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นใน โวหาร ๔ นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อุปาทาน ขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธตรัสไว้ชอบ นี้มี ๕ ประการแล ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่าน ผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทาน- *ขันธ์ ๕ นี้ ฯ [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะ พยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเรา หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น ในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา แล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในเวทนา และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นใน เวทนาได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญาแล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในสัญญา และอนุสัย คือความตั้งใจและความปักใจมั่นในสัญญาได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขารแล้วแลว่า ... จิต ของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในสังขาร และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในสังขารได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้ง แห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในวิญญาณได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ธาตุอัน- *พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มี ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลธาตุ ๖ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้น จากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ ฯ [๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัย ปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัย อาโปธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอาโปธาตุได้ ข้าพเจ้าครองเตโชธาตุ โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัย เตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุได้ ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุ โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัย วาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุ โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัย อากาสธาตุและอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้ ข้าพเจ้าครอง วิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น อาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายใน อายตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มีอย่างละ ๖ แล อย่างละ ๖ เป็นไฉน คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอายตนะภายใน อายตนะภายนอก อย่างละ ๖ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต- *สัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้ ฯ [๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความ ยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ใน จักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ข้าพเจ้า ทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัย คือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และใน ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ ข้าพเจ้า ทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัย คือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในกาย ใน โผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ข้าพเจ้าทราบ ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งความ พอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือความ ตั้งใจและความปักใจมั่น ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่ พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ก็เมื่อท่านผู้มีอายุ รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไร จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอกได้ด้วยดี ฯ [๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะ พยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นผู้ครองเรือน ยังเป็น ผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง สาวกของพระตถาคตบ้าง แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้ความเชื่อในพระตถาคต ข้าพเจ้าประกอบด้วยการ ได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา แห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เรา พึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา ข้าพเจ้าจึงละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง ละวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าเมื่อเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย เพราะละปาณาติบาต จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู ได้เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์ และภูต เพราะละอทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของ ที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่ เพราะละกรรม อันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลและ เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมดาของชาวบ้าน เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาด จากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์ เป็นหลักฐาน เชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก เพราะละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยิน จากฝ่ายนี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน หรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อม- *เพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน เพราะ ละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนา และชอบใจ เพราะละการเจรจาเพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้ กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล ข้าพเจ้าเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว งดฉันใน เวลาราตรี เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรง และตบแต่งด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการ แต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงและใหญ่ เป็นผู้เว้นขาด จากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เป็นผู้เว้นขาดจาก การรับแพะและแกะ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากการ รับช้าง โค ม้า และลา เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาด จากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เป็น ผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง โกงด้วยของปลอม และโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาด จากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก ข้าพเจ้า ได้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปที่ใดๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีก จะบินไปที่ใดๆ ย่อม มีภาระคือปีกของตนเท่านั้น บินไป ฯ [๑๗๓] ข้าพเจ้าประกอบด้วยศีลขันธ์ของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึงได้ เสวยสุขอันปราศจากโทษภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต และโดยอนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่ง บุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ รักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์แล้ว ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ ปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูก อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ รักษามนินทรีย์ ถึงความ สำรวมในมนินทรีย์แล้ว ฯ [๑๗๔] ข้าพเจ้าประกอบด้วยอินทรียสังวรของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึง ได้เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ภายใน ได้เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอย กลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้า สังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง ฯ [๑๗๕] ก็ข้าพเจ้าประกอบด้วยศีลขันธ์ของพระอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วย อินทรียสังวรของพระอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะของพระอริยะ เช่นนี้แล้ว จึงได้พอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ บนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต ภายหลัง เวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา ในโลกได้แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้ ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชื่อว่า ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ [๑๗๖] ข้าพเจ้าครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้า- *หมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังแล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ได้เข้าทุติยฌาน มีความ ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ได้เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียก ข้าพเจ้านั้นได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ได้เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ [๑๗๗] ข้าพเจ้าเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ข้าพเจ้าได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ ดับอาสวะ เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้ จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และใน นิมิตทั้งหมดในภายนอกได้ด้วยดี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เป็นลาภ ของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุ เช่นตัวท่าน เป็นสพรหมจารี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ฉวิโสธนสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. สัปปุริสสูตร (๑๑๓)
[๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัปปุริสธรรม และ อสัปปุริสธรรมแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๑๗๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริส ธรรมเป็นอย่างไร คืออสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิใช่เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความ เป็นผู้มีสกุลสูงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงเลย ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญ เธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจาก สกุลใหญ่ ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจากสกุลใหญ่...ออกจากสกุลมีโภคะมาก... ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจาก สกุลใหญ่ ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว อสัต- *บุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่ง นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มี โภคะมาก มีโภคะยิ่งเลย ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากสกุลใหญ่ ออกจาก สกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญ เธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ปรากฏ มียศ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ปรากฏ มียศ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ปรากฏ มีศักดิ์น้อย อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ ปรากฏนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ปรากฏ ถึงแม้ ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ปรากฏ มียศ แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษ นั้น (ทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น) ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ ปรากฏนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุ อื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช- *บริขาร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะการได้ ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่ เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร แต่เป็นผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลาย ก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพหูสูต ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นพหูสูต อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูตนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพหูสูต ถึงแม้ ภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประ- *พฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้น ทำการปฏิบัติ แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูต นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพระวินัย- *ธร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นพระวินัยธร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่ เป็นพระวินัยธร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพระวินัยธร ถึงแม้ ภิกษุไม่ใช่เป็นพระวินัยธร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษ นั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็น พระวินัยธรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพระธรรม กถึก ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้ อื่น เพราะความเป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริส- *ธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพระธรรมกถึก ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ ชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ เป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่า เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ ป่าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ ชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็น ผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วน ภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่ม ผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็ คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็ คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา สรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็ คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่โคน ไม้เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่น เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะ ความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็น วัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญ เธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริส- *ธรรม ฯ [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าช้า เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ อยู่ป่าช้าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่ นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ ความเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่กลางแจ้งเป็น วัตร...เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร...เป็นผู้ถือการนั่งตามลำดับอาสนะเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ถือ การฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ถือการฉันใน อาสนะเดียวเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ถือการ ฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความ โกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ถือการฉันใน อาสนะเดียวเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คน ทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่า นั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ ใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยปฐมฌาน สมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้ปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มี พระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุ นั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหาแต่ภายใน เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยปฐมฌานสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่...เข้าตติยฌาน...เข้า จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้จตุตถฌาน สมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยจตุตถฌานสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานสมาบัติ พระ- *ผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหาแต่ ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยจตุตถฌานสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเข้าอากาสา- *นัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดย ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วย อากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุ ใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหา แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วงอากาสา- *นัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน สมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อสัตบุรุษ นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุ ใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหา แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วงวิญญาณัญ- *จายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่ มีอะไรสักน้อยหนึ่งอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตน- *สมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ อสัตบุรุษ นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุ ใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษทำความไม่มีตัณหาแต่ ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วงอากิญ- *จัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่น เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เนวสัญญานาสัญญายตน- *สมาบัติ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว เพราะคนทั้งหลายสำคัญกัน ด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำความ ไม่มีตัณหาแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตน- *สมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สัตบุรุษล่วงเนวสัญญา- *นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็น ด้วยปัญญา จึงมีอาสวะสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่สำคัญอะไรๆ ย่อมไม่สำคัญที่ไหนๆ และไม่สำคัญด้วยเหตุไรๆ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สัปปุริสสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร (๑๑๔)
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระ ผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้า ข้า ฯ [๑๙๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ความประพฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน เรากล่าวความ ประพฤติทางวาจาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกัน เรากล่าวความประพฤติ ทางใจโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางใจด้วยกัน เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่าง เป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกัน เรากล่าวความได้สัญญาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควร เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ สัญญาด้วยกัน เรากล่าวความได้ทิฐิโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร เสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ทิฐิด้วยกัน เรากล่าวความ ได้อัตภาพโดยส่วน ๒ คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง นั้น แต่ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน ฯ [๒๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้ โดยพิสดารอย่างนี้- ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ ประพฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประ พฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความ ประพฤติทางกายเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางกายเช่นนี้ ควรเสพ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑-๒๙๓๓ หน้าที่ ๑-๑๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=2933&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=14&item=1&items=300              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=14&item=1&items=300&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=14&item=1&items=300              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=14&item=1&items=300              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_14

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :