ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             [๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มี
อะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน
และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?
             สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถ
ต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.
             ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน? ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไป
สู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้.
             เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตน-
*ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
             เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี
ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้ นี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.
             เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอัน
ไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มี
นิมิต.
             ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็น
ไฉน? ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุ
ผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมี
อารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจาก
โมหะ. ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็น
ต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว
ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า
เลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ
ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้น
นั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่
ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า
เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ
ว่างจากโมหะ.
             ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียง
พยัญชนะเท่านั้น.
             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ มหาเวทัลลสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๓๗๓-๙๔๑๙ หน้าที่ ๓๘๕-๓๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9373&Z=9419&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=12&item=504&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=12&item=504&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=12&item=504&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=12&item=504&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=504              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :