ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             [๔๙๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ผู้ประ
พฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง ดูกรพราหมณ์และคฤหบดี
ทั้งหลาย ก็บุคคลประพฤติธรรมด้วยกาย ๓ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
             ละการถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ลักทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ซึ่งนับว่าเป็นขโมย.
             ละความประพฤติผิดในกายทั้งหลาย เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ
ไม่ถึงความสมสู่ในพวกหญิง ที่มารดารักษา ...
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือผู้ประพฤติธรรมด้วย
กาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วย
วาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ไปในที่ประชุม ... และไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ...
             ละวาจาอันส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาอันส่อเสียดกล่าววาจาที่เป็นเครื่องทำความพร้อม
เพรียงกัน.
             ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ ... กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ ...
             ละการพูดไร้ประโยชน์ เว้นขาดจากการพูดไร้ประโยชน์ ... มีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่สุด
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วย
วาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วยใจ
๓ อย่าง เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความ
โลภ ไม่เพ่งเล็งต่อทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราดังนี้.
             เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ไม่มีความดำริในใจคิดประทุษร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข รักษาตนเถิด ดังนี้.
             เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่ผลแห่งการบูชา
มีอยู่ ... สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้
แจ้งชัดด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองแล้ว สอนให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้.
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วยใจ
๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.
             ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุแห่งความประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
อย่างนี้แล.
ว่าด้วยผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๑๒๗-๙๑๖๑ หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9127&Z=9161&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=12&item=490&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=12&item=490&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=12&item=490&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=12&item=490&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=490              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :