ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๑๔ บท]
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน เป็นอย่างไร? ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำ ความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๘ บท]
๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้ มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ... ๓. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอารามิก ... ๔. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสามเณร ... ๕. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ ... ๗. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าจะต้องการอะไร [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า ไม่ต้องการ [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสิทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า พ้นดีแล้ว [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้ มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้า พ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท
ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรมก็ดี ไวพจน์แห่ง พระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดี ไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่ง อุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริก ก็ดี ไวพจน์แห่งพระอันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม อาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุบาสกก็ดี ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวก- *เดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ เป็นนิมิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็น อันบอกคืน.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๐๗๕-๑๒๑๐ หน้าที่ ๔๓-๔๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=1075&Z=1210&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=31&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=31&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=31&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=31&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=31              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :