ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
เหตุแห่งการทำให้แจ้งสมาธิภาวนา
[๒๕๐] โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายเห็นจะประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นเท่านั้น. ภ. ดูกรมหาลี มิใช่ภิกษุทั้งหลายจะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นเท่านั้น ดูกรมหาลี ธรรมเหล่าอื่นที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่ายังมีอยู่. โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่านั้น เป็นไฉน? ภ. ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรม เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสัญโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ดูกรมหาลี ธรรมนี้แล ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า. [๒๕๑] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงอีกครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสัญโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางไป ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรมที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า. [๒๕๒] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุไปเกิดในภพสูง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น เพราะสัญโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการหมดสิ้นไป ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรมที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า.
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๒๕๓] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรมที่ ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า ดูกรมหาลี เหล่านี้แล ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่า และประณีตกว่า.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๔๕๙๘-๔๖๒๑ หน้าที่ ๑๙๒-๑๙๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=4598&Z=4621&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=250&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=250&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=9&item=250&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=9&item=250&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=250              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]