ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
มุสาวาทวรรคที่ ๗
มุสาวาท
[๑๑๙๓] อุ. มุสาวาท มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติปาราชิก ๒. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๓. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๕. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรอุบาลี มุสาวาท ๕ อย่าง นี้แล.
งดอุโบสถหรือปวารณา
[๑๑๙๔] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล งดอุโบสถหรือ ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา? ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือปวารณา ในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่า ได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นพาล ๓. มิใช่ปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ๕. หาใช่เป็นผู้กล่าวประสงค์ให้ออกจากอาบัติไม่. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่า ได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลาง สงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ ๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ ๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ๕. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถ หรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่า ได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม
[๑๑๙๕] อุ. สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้. ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ดูกรอุบาลี สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
องค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม
ดูกรอุบาลี สงฆ์พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ดูกรอุบาลี สงฆ์พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕
[๑๑๙๖] อุ. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕. อาการ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ด้วยไม่ละอาย ๒. ด้วยไม่รู้ ๓. ด้วยสงสัยแล้วขืนทำ ๔. ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๕. ด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล. ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕. อาการ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ด้วยไม่ได้เห็น ๒. ด้วยไม่ได้ฟัง ๓. ด้วยหลับ ๔. ด้วยเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น ๕. ด้วยลืมสติ ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล.
เวร ๕
[๑๑๙๗] อุ. เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี เวรนี้มี ๕ เวร ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ ๕. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย ดูกรอุบาลี เวร ๕ นี้แล.
เจตนางดเว้น ๕
[๑๑๙๘] อุ. เจตนางดเว้น มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี เจตนางดเว้นนี้ มี ๕. เจตนางดเว้น ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เจตนางดเว้น จากฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. เจตนางดเว้น จากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ๓. เจตนางดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม ๔. เจตนางดเว้น จากพูดเท็จ ๕. เจตนางดเว้น จากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและ เมรัย ดูกรอุบาลี เจตนางดเว้น ๕ นี้แล.
ความเสื่อม ๕
[๑๑๙๙] อุ. ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี ความเสื่อมนี้ มี ๕. ความเสื่อม ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ความเสื่อมจากญาติ ๒. ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ ๓. ความเสื่อมคือมีโรค ๔. ความเสื่อมจากศีล ๕. ความเสื่อมคือเห็นผิด ดูกรอุบาลี ความเสื่อม ๕ นี้แล.
ความถึงพร้อม ๕
[๑๒๐๐] อุ. ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูกรอุบาลี ความถึงพร้อมนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ:- ๑. ความถึงพร้อมด้วยญาติ ๒. ความถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์. ๓. ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค ๔. ความถึงพร้อมด้วยศีล ๕. ความถึงพร้อมด้วยเห็นชอบ ดูกรอุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ นี้แล.
มุสาวาทวรรคที่ ๗ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๒๐๑] มุสาวาท ๑ ย่ำยี ๑ ย่ำยีอีกนัยหนึ่ง ๑ ซักถาม ๑ อาบัติ ๑ อาบัติอีกนัย หนึ่ง ๑ เวร ๑ เจตนางดเว้น ๑ ความเสื่อม ๑ ความถึงพร้อม ๑ รวมเป็นวรรคที่ ๗ฯ
หัวข้อประจำวรรค จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๑๔๕๙-๑๑๕๗๗ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=11459&Z=11577&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1193&items=9              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1193&items=9&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1193&items=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1193&items=9              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1193              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]