ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๒๔๕.

ทูลถามการโจท
[๕๐๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ประกอบ ด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ [๕๐๑] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วย ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติ ทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษา ความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ [๕๐๒] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย หรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่ อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิต ในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ [๕๐๓] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรม เหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๖.

เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรม เห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ [๕๐๔] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่อง แคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถามว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาค ตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียน วินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการ นี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น ฯ [๕๐๕] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนา จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:- ๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง ๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์ ๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๗.

ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน
[๕๐๖] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือดร้อน ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน ๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ ท่านต้องเดือดร้อน ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่อง ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน ๕. ท่านมุ่งร้ายโจท มิใช่มีเมตตาจิตโจท ท่านต้องเดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วย อาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่น ไม่พึงสำคัญเรื่องที่โจทด้วย คำเท็จ ฯ
ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
[๕๐๗] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้อง เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้อง เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๘.

๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วย เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วยอาการ ทั้ง ๕ นี้ ฯ
ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
[๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความ ไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความ ไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน ๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจทด้วยเรื่องจริง ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๙.

ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือดร้อน
[๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่าน ต้องเดือดร้อน ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่าน ต้องเดือดร้อน ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้อง เดือดร้อน ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่อง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน ๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้อง เดือดร้อน ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้แล ฯ
ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ
[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง มนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:- ๑. ความการุญ ๒. ความหวังประโยชน์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๐.

๓. ความเอ็นดู ๔. ความออกจากอาบัติ ๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่าง นี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ
[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง ๑ ความไม่ขุ่นเคือง ๑ ฯ
ปาติโมกขฐปนขันธกะ ที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๙๒๖-๖๐๖๐ หน้าที่ ๒๔๕-๒๕๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=5926&Z=6060&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=500&items=12&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=500&items=12&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=7&item=500&items=12&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=7&item=500&items=12&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=500              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]