ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๑] 	ในสี่อสงไขยแสนกัป ความประพฤติอันใดในระหว่างนี้ ความ
                          ประพฤติทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ เราจักเว้นความ
                          ประพฤติในภพน้อยใหญ่ในกัปเสีย จักบอกความประพฤติในกัปนี้
                          จงฟังเรา ในกาลใด เราเป็นดาบสชื่ออกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่า
                          ใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียงอื้ออึง ในกาลนั้น ด้วย
                          เดชแห่งการประพฤติตบะของเรา สมเด็จอัมรินทร์ผู้ครองไตรทิพย์
                          ทรงร้อนพระทัย ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา
                          เราได้เห็นอินทพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึง
                          เอาใบหมากเม่าที่เรานำมาแต่ป่า อันไม่มีน้ำมัน ทั้งไม่เค็ม ให้หมด
                          พร้อมกับภาชนะ ครั้นได้ให้หมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว
                          เราจึงคว่ำภาชนะ ละการแสวงหาใบหมากเม่าใหม่ เข้าไปยังบรรณ
                          ศาลา แม้ในวันที่ ๒ แม้ในวันที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนัก
                          ของเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่อาลัยในชีวิต ได้ให้หมดสิ้นเช่น
                          วันก่อนเหมือนกัน ในสรีระของเราไม่มีความหมองศรีเพราะการอด
                          อาหารนั้นเป็นปัจจัย เรายับยั้งอยู่ตลอดวันนั้นๆ ด้วยปีติ สุข และ
                          ความยินดี (อันเกิดแต่ความยินดี) ถ้าเราพึงได้ทักขิเณยยบุคคลผู้
                          ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่งสองเดือนเราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ใจ
                          พึงให้ทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้
                          ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ
                          (เท่านั้น) จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้.
จบอกิตติจริยาที่ ๑
สังขพราหมณจริยาที่ ๒
ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขพราหมณ์

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๘๖๔๑-๘๖๖๓ หน้าที่ ๓๗๐-๓๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=8641&Z=8663&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.3&item=1&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.3&item=1&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.3&item=1&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.3&item=1&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]