ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๘๘] 	ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อยมกะ เราได้ทำอาศรม
                          สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขานั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะใหญ่มีนามชื่อว่า
                          นารทะ ศิษย์สี่หมื่นคนบำรุงเรา ครั้งนั้น เราเป็นผู้หลีกออก
                          เร้นอยู่ คิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา เราไม่บูชาอะไรๆ เลย ผู้ที่
                          จะกล่าวสั่งสอนเราก็ไม่มี ใครๆ ที่จะตักเตือนเราก็ไม่มี เราไม่มี
                          อาจารย์และอุปัชฌาย์ อยู่ในป่า ศิษย์ผู้ภักดีพึงบำรุงใจครูทั้งคู่ได้
                          อาจารย์เช่นนั้นของเราไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์ สิ่งที่ควร
                          บูชาเราควรแสวงหาสิ่งที่ควรเคารพก็ควรแสวงหาเหมือนกัน เราจัก
                          ชื่อว่าเป็นผู้มีที่พึ่งพำนักอยู่ ใครๆ จักไม่ติเราได้ ในที่ไม่ไกลอาศรม
                          ของเรา มีแม่น้ำซึ่งมีชายหาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
                          เกลื่อนไปด้วยทรายที่ขาวสะอาด ครั้งนั้น เราได้ไปยังแม่น้ำชื่ออมริกา
                          ตะล่อมเอาทรายมาก่อเป็นเจดีย์ทรายพระสถูปของพระสัมพุทธเจ้าผู้ทำที่
                          สุดภพ เป็นมุนี ที่ได้มีแล้ว เป็นเช่นนี้ เราได้ทำสถูปนั้นให้เป็น
                          นิมิต เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง แล้วเอาดอกกระดึง
                          ทอง ๓๐๐ ดอกมา เราเป็นผู้มีความอิ่มใจ  ประนมกรอัญชลี
                          นมัสการทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนถวายบังคม
                          พระสัมพุทธเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์ ฉะนั้น ในเวลาที่กิเลสและ
                          ความตรึกเกี่ยวด้วยกามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง เพ่งดูพระสถูปที่ได้
                          ทำไว้ เราอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำสัตว์ออกจากที่กันดาร ผู้นำ
                          ชั้นพิเศษ  ตักเตือนตนว่าท่านควรระวังกิเลสไว้ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์
                          การยังกิเลสให้เกิดขึ้นไม่สมควรแก่ท่าน ครั้งนั้น เมื่อเราคำนึงถึง
                          พระสถูปย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน เราบรรเทาวิตกที่น่าเกลียด
                          เสียได้เปรียบเหมือนช้างตัวประเสริฐ ถูกเครื่องแทงหูเบียดเบียน
                          ฉะนั้น เราประพฤติอยู่เช่นนี้ได้ถูกพระยามัจจุราชย่ำยี เราทำกาลกิริยา
                          ณ ที่นั้นแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก เราอยู่ในพรหมโลกนั้นตราบเท่า
                          หมดอายุ แล้วมาบังเกิดในไตรทิพย์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช
                          สมบัติในเทวโลก ๘๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง
                          และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เราได้
                          เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่านั้น ดอกกระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอก
                          แวดล้อมเราทุกภพ เพราะเราเป็นผู้บำเรอพระสถูป ฝุ่นละอองย่อมไม่
                          ติดกับตัวที่ตัวเรา เหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีซ่านออกจากตัว โอ
                          พระสถูป เราได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำอมริกาได้เห็นดีแล้ว เราได้
                          บรรลุบทอันไม่หวั่นไหวก็เพราะได้ก่อพระสถูปทราย อันสัตว์ผู้
                          ปรารถนาจะกระทำกุศลควรเป็นผู้ยึดเอาสิ่งที่เป็นสาระ ไม่ใช่เป็นด้วย
                          เขตหรือไม่ใช่เขตความปฏิบัตินั่นเองเป็นสาระ บุรุษผู้มีกำลัง มีความ
                          อุตสาหะที่จะข้ามทะเลหลวง พึงถือเอาท่อนไม้เล็ก วิ่งไปสู่ทะเล
                          หลวงด้วยคิดว่า เราอาศัยไม้นี้จักข้ามทะเลหลวงไปได้ นรชนพึงข้าม
                          ทะเลหลวงไปด้วยความเพียรอุตสาหะ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือน
                          กัน อาศัยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว จึงข้ามพ้นสงสาร
                          ไปได้ เมื่อถึงภพสุดท้าย เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วเกิดในสกุล
                          พราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี มารดาบิดาของเรา
                          เป็นคนมีศรัทธานับถือพระพุทธเจ้า ท่านทั้งสองนี้เป็นผู้เห็นธรรมฟัง
                          ธรรม ประพฤติตามคำสอน ท่านทั้งสองถือเอาผ้าลาดสีขาว มีเนื้อ
                          อ่อนมากที่ต้นโพธิ์มาทำพระสถูปทองนมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์
                          แห่งพระศากยบุตรทุกเย็นเช้าในวันอุโบสถ ท่านทั้งสองนำเอา
                          พระสถูปทองออก กล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า ยับยั้งอยู่ตลอด
                          ๓ ยาม เราได้เห็นพระสถูปเสมอ จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้
                          นั่งบนอาสนะอันเดียวได้บรรลุอรหัตแล้ว.
จบ ภาณวารที่ ๒๒.
เราแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นปราชญ์นั้นอยู่ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี จึงออกจากเรือนบรรพชาในสำนักของท่าน เราได้บรรลุอรหัตแต่ อายุ ๗ ขวบ พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุทรงทราบคุณวิเศษของ เราจึงให้เราอุปสมบท เรามีการกระทำอันบริบูรณ์ดีแล้ว แต่ยังเป็น ทารกอยู่ทีเดียว ทุกวันนี้ กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร เราทำเสร็จแล้ว ข้าแต่พระฤาษีผู้มีความเพียรใหญ่ สาวกของ พระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง ล่วงพ้นความเกี่ยวข้องทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งพระสถูปทอง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธ ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปุฬินถูปิยเถราปทาน.
นฬกุฏิกทายกเถราปทานที่ ๙
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างกุฏิไม้อ้อ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๒๐๐๙-๒๐๗๐ หน้าที่ ๘๘-๙๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=2009&Z=2070&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=88&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=88&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=88&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=88&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=88              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]