ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยบุพจริยาของพระจูฬสุคันธเถระ
[๑๔๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้ามีพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพงศ์พันธุ์พรหม ทรงพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ได้เสด็จอุบัติขึ้น แล้ว พระองค์สมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีพระรัศมีล้อมรอบข้างละวา ประกอบด้วยข่ายรัศมี ทรงยังสัตว์ให้ยินดีได้เหมือนพระจันทร์ แผดแสงเหมือนพระ อาทิตย์ ทำให้เยือกเย็นเหมือนเมฆ เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือน สาคร มีศีลเหมือนแผ่นดิน มีสมาธิเหมือนขุนเขาหิมวันต์ มี ปัญญาเหมือนอากาศ ไม่ข้องเหมือนกับลม ครั้งนั้น เราเกิดใน สกุลใหญ่ มีทรัพย์และธัญญาหารมากมาย เป็นที่สั่งสมแห่งรัตนะ ต่างๆ ในพระนครพาราณสี เราได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายก ของโลก ซึ่งประทับนั่งอยู่กับบริวารมากมาย ได้สดับอมตธรรมอัน นำมาซึ่งความยินดีแห่งจิต พระพุทธองค์ทรงพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีนักษัตฤกษ์ดีเหมือนพระจันทร์ ทรงสมบูรณ์ด้วย อนุพยัญชนะ บานเหมือนต้นพญารัง อันข่ายคือพระรัศมีแวดวง มีพระรัศมีรุ่งเรือง เหมือนภูเขาทอง มีพระรัศมีล้อมรอบด้านละวา มีรัศมีนับด้วยร้อยเหมือนอาทิตย์ มีพระพักตร์เหมือนทองคำ เป็นพระพิชิตมารผู้ประเสริฐ เป็นเหมือนภูเขาอันให้เกิดความยินดี มีพระหฤทัยเต็มด้วยพระกรุณา มีพระคุณปานดังสาคร มีพระเกียรติ ปรากฏแก่โลก เหมือนเขาสิเนรุซึ่งเป็นภูเขาสูงสุด มีพระยศ เป็นที่ปลื้มใจ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นเดียวกับอากาศ เป็น นักปราชญ์ มีพระทัยไม่ข้องในที่ทั้งปวงเหมือนลม เป็นผู้นำ เป็น ที่พึ่งของสรรพสัตว์เหนือแผ่นดิน เป็นมุนีผู้สูงสุด อันโลกไม่เข้า ไปฉาบทาได้เหมือนปทุมน้ำไม่ติด ฉะนั้น เป็นผู้เช่นกับกองไฟเผา หญ้าคือวาทะลวงโลก พระองค์เป็นเสมือนยาบำบัดโรค ทำให้ยา พิษคือกิเลสพินาศ ประดับด้วยกลิ่นคือคุณเหมือนภูเขาคันธมาทน์ เป็นนักปราชญ์ที่เป็นบ่อเกิดของคุณ ดุจดังสาครเป็นบ่อเกิดแห่ง รัตนะทั้งหลาย ฉะนั้น และเป็นเหมือนม้าสินธพอาชาไนย เป็นผู้ นำไปซึ่งมลทินคือกิเลส ทรงย่ำยีมารและเสนามารเสียได้ เหมือน นายทหารใหญ่ผู้มีชัยโดยพิเศษ ทรงเป็นใหญ่เพราะรัตนะคือ โพชฌงค์เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงเป็นผู้เยียวยาพยาธิ คือ โทสะเหมือนกับหมอใหญ่ ทรงเป็นหมอผ่าฝีคือทิฏฐิ เหมือน ศัลยแพทย์ผู้ประเสริฐสุด ครั้งนั้น พระองค์ทรงส่องโลกให้โชติช่วง อันมนุษย์และทวยเทพสักการะ เป็นดังพระอาทิตย์ส่องแสงสว่าง ให้แก่นรชน ทรงแสดงพระธรรมเทสนาในบริษัททั้งหลาย พระ- องค์ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า บุคคลจะมีโภคทรัพย์มากได้เพราะให้ ทาน จะเข้าถึงสุคติก็เพราะศีล จะดับกิเลสได้เพราะภาวนา ดังนี้ บริษัททั้งหลายฟังเทศนานั้น อันให้เกิดความแช่มชื่นมากไพเราะ ทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด มีรสใหญ่ ประหนึ่งน้ำอมฤต เราได้ สดับพระธรรมเทศนาอันไพเราะดี ก็เลื่อมใสในพระศาสนาของพระ พิชิตมาร จึงถึงพระสุคตเจ้าเป็นสรณะ นอบน้อมตราบเท่าสิ้นชีวิต ครั้งนั้น เรานั้นได้เอาของหอมมีชาติ ๔ ทาพื้นพระคันธกุฎีของพระ- มหามุนีเดือนหนึ่ง ๘ วัน โดยตั้งปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่น หอมให้มีกลิ่นหอม ครั้งนั้น พระพิชิตมารได้ตรัสพยากรณ์เราผู้อยาก ได้กายมีกลิ่นหอมว่านระใด เอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎีคราว เดียว ด้วยผลของกรรมนั้น นระนี้เกิดในชาติใดๆ จักเป็นผู้มีตัว หอมทุกชาติไป จักเป็นผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายใน บัดนี้ เราเกิดในสกุลอันมั่งคั่ง เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์มารดา มารดา เป็นหญิงมีกลิ่นตัวหอม และในเวลาที่เราคลอดจากครรภ์มารดานั้น พระนครสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนกับถูกอบด้วยกลิ่นหอมทุกอย่าง ขณะนั้นฝนดอกไม้อันหอมหวน กลิ่นทิพย์อันน่ารื่นรมย์ใจ และ ธูปมีค่ามาก หอมฟุ้งไป เราเกิดในเรือนหลังใด เรือนหลังนั้น เทวดาได้เอาธูปและดอกไม้ล้วนแต่มีกลิ่นหอม และเครื่องหอมมา อบ ก็ในเวลาที่เรายังเยาว์ ตั้งอยู่ในปฐมวัย พระศาสดาผู้เป็น สารถีฝึกนระ ทรงแนะนำบริษัทของพระองค์ที่เหลือแล้ว เสด็จมา ยังพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมด ครั้ง นั้น เราได้พบพุทธานุภาพจึงออกบวช เราเจริญธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติอันยอดเยี่ยม แล้วบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะในคราวที่เราออกบวช ในคราวที่เราเป็นพระ อรหันต์ และในคราวที่เราจักนิพพาน ได้มีฝนมีกลิ่นหอมตกลงมา ก็กลิ่นสรีระอันประเสริฐสุดของเรา ครอบงำจันทน์อัน มีค่า ดอกจำปาและดอกอุบลเสีย และเราไปในที่ใดๆ ก็ย่อมจะข่มขี่กลิ่นเหล่านี้เสียโดยประการทั้งปวง ฟุ้งไป เช่นนั้นเหมือนกัน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่อง ผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มายังสำนัก ของพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุ แล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัด แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระจูฬสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ จูฬสุคันธเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน ๒. กังขาเรวตเถราปทาน ๓. สีวลิเถราปทาน ๔. วังคีส- *เถราปทาน ๕. นันทกเถราปทาน ๖. กาฬุทายีเถราปทาน ๗. อภยเถราปทาน ๘. โลมสติย- *เถราปทาน ๙. วนวัจฉเถราปทาน ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน และในวรรคนี้มีคาถา ๓๑๖ คาถา.
จบ ภัททิยวรรคที่ ๕๕
-----------------------------------------------------
รวมวรรค
๑. กณิการวรรค ๒. ผลทายกวรรค ๓. ติณทายกวรรค ๔. กัจจายนวรรค ๕. ภัททิยวรรค
บัณฑิตคำนวณคาถาไว้แผนกหนึ่ง รวมได้ ๙๘๔ คาถา และประกาศอปทานรวมได้ ๕๕๖ อปทาน
พร้อมกับอุทานคาถา มีคาถารวม ๖๒๑๘ คาถา.
จบ พุทธาปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน และเถราปทานแต่เท่านี้
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๓๙๖๙-๔๐๕๖ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=3969&Z=4056&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=140&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=140&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=140&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=140&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=140              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]