ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๔๖๘] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญา-
*จักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้ปรารภความเพียร ... ผู้มีสติตั้งมั่น ...
ผู้มีจิตมั่น ... ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจ
คร้าน ... ผู้มีสติหลงลืม ... ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลี
มากในปัญญาจักษุ ฯ
             คำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ ผู้มีปัญญา
ชื่อว่ามีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯ
             คำว่า ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มี
อาการดี ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการดี
ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯ
             คำว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ความว่า
บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้
รู้ได้โดยยาก ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีปัญญา
ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯ
             คำว่า บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มี
ปัญญา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯ
             คำว่า โลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก
วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก   สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก ๔
คือ อาการ ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ โลก
๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗  โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ
ธาตุ ๑๘ ฯ
             คำว่า โทษ ความว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ
อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ ความ
สำคัญในโลกนี้และในโทษนี้ด้วยประการดังนี้ โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้า
ปรากฏเฉพาะหน้า เปรียบเหมือนความสำคัญในเพชฌฆาต ซึ่งกำลังแกว่งดาบเข้ามา
โดยความเป็นภัย ฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงทราบ ทรงเห็น ทรงรู้ชด
ทรงแทงตลอด ซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้ ฯ
จบตติยภาณวาร
จบอินทรียกถา
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๖๑๔๙-๖๑๘๕ หน้าที่ ๒๕๑-๒๕๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=6149&Z=6185&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=468&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=468&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=468&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=468&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=468              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]