ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๔๐๐] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อม
ยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง อย่างไร ฯ
             บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังพละ
ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วย
ความเป็นธรรมเครื่องนำออก ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ ยัง
สติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วยความ
เริ่มตั้ง ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ ยังสัจจะให้ประชุมลงด้วยความ
ถ่องแท้ ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วย
ความพิจารณาเห็น ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความมีกิจเป็นอันเดียว
กัน ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน ยังสีลวิสุทธิให้
ประชุมลงด้วยความสำรวม ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังทิฐิ-
*วิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วยความหลุดพ้น ยัง
วิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความสละรอบ
ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด ยังญาณในความไม่เกิดขึ้น
ให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ ยังฉันทะให้ประชุมลงด้วยความเป็นมูลเหตุ
ยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน ยังผัสสะให้ประชุมลงด้วยความ
ประสบ ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก ยังสมาธิให้ประชุมลงด้วยความ
เป็นประธาน ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังสติสัมปชัญญะให้
ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความเป็นสาระ
ยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความเป็นที่สุด บุคคลนี้ย่อมยังธรรม
เหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรม
ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
             คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่ง
ธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้
ปัญญา ฯ
             คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
             คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
ไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
ประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ
             คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอด
ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๖๕๔-๔๖๘๖ หน้าที่ ๑๙๐-๑๙๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4654&Z=4686&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=400&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=400&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=400&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=400&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=400              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]