ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค ญาณกถา
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้ สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรมเหล่านี้เป็นไป ในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสุตมยญาณ [แต่ละอย่าง] ฯ [๒] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่อง รู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณอย่างไร ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒ ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓ ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔ ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕ ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คืออนุตตริยะ ๖ ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ อีกต่อไป] ๗ ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี บุคคลครอบงำไว้] ๘ ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙ ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือนิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐ ฯ [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย [แต่ละอย่างๆ] ควรรู้ยิ่ง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ [๔] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา สัมผัสสชาเวทนา การสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา รูป สัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๕-๑๓๒ หน้าที่ ๕-๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=95&Z=132&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=1&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=1&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=1&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=1&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]