ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๕๗๘] ความถือตัว ในคำว่า มานะ ในอุเทศว่า มานมกฺขปฺปหายีโน ดังนี้ โดยอาการ
อย่างหนึ่ง คือ ความพองแห่งจิต. ความถือตัวโดยอาการ ๒ อย่าง คือ ความถือตัวในการยกตน ๑
ความถือตัวในการข่มผู้อื่น ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ๑
เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๔ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิด
เพราะลาภ ๑ เพราะยศ ๑ เพราะสรรเสริญ ๑ เพราะสุข ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๕ อย่าง คือ
บุคคลให้ความถือตัวเกิดว่า เราเป็นผู้ได้รูปที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้เสียงที่ชอบใจ ๑ เอาเป็นผู้ได้
กลิ่นที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้รสที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. ความถือตัวโดย
อาการ ๖ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ เพราะความถึง
พร้อมแห่งหู ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ เพราะความถึง
พร้อมแห่งกาย ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๗ อย่าง คือ ความถือ
ตัว ๑ ความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวเกินกว่าความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความ
ดูแคลน ๑ ความถือตัวว่าเรามี ๑ ความถือตัวผิด ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๘ อย่าง คือ บุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๒๒.

ให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัวเกิด เพราะยศ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะ ทุกข์ ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขาที่ดี ๑ เราเสมอเขาที่ดี ๑ เราเลวกว่าเขาที่ดี ๑ เราดีกว่าเขาที่เสมอกัน ๑ เราเสมอเขาที่เสมอกัน ๑ เราเลวกว่าเขาที่เสมอ กัน ๑ เราดีกว่าเขาที่เลว ๑ เราเสมอเขาที่เลว ๑ เราเลวกว่าเขาที่เลว ๑. ความถือตัวโดย อาการ ๑๐ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ความถือตัวเกิดขึ้นเพราะกำเนิดบ้าง เพราะโคตร บ้างเพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง เพราะทรัพย์บ้าง เพราะความเชื้อเชิญบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง เพราะฐาน แห่งวิชชาบ้าง เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะวัตถุอื่นบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัวความเป็นผู้ถือตัว ความพองจิต ความมีมานะดังว่าไม้อ้อสูง มานะดังธงไชย มานะ อันเป็นเหตุให้ยกย่อง ความที่มีจิตใคร่ดังธงนำหน้า นี้ท่านกล่าวว่า ความถือตัว. ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ความเป็นผู้ลบหลู่ กรรมอันประกอบด้วยความแข็งกระด้าง นี้ท่านกล่าวว่าความลบหลู่ในคำว่า มักขะ ดังนี้. ความถือตัวและความลบหลู่ พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิด ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ทรงละความถือตัว และความลบหลู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๕๔๓๓-๕๔๖๑ หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=5433&Z=5461&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=578&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=578&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=578&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=578&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=578              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]