ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๑๐๒] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว มีความว่าความประพฤติลวง
เรียกว่ามารยา. บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๓.

ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาอันลามก เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือย่อม ปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา (ว่าเราประพฤติทุจริต) ดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ย่อมกล่าว วาจาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ใครๆ อย่ารู้เรา. ความลวง ความเป็น ผู้มีความลวง ความไม่นึกถึง ความอำพราง ความปิด ความปิดบัง ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนเร้น ความปิด ความปกปิด ความไม่ทำให้ตื้น ความไม่เปิดเผย ความปิดด้วยดี ความกระทำชั่วเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความลวง. คำว่า มานะ ได้แก่ความถือตัวอย่าง ๑ คือความที่จิตใฝ่สูง. ความถือตัว ๒ อย่างคือ ความยกตน ๑ ความข่มผู้อื่น ๑. ความถือตัว ๓ อย่าง คือความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑. ความถือตัว ๔ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ ๑ ยังความถือตัวให้ เกิดเพราะยศ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความ สุข ๑. ความถือตัว ๕ อย่างคือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑ ยังความ ถือตัวให้เกิด ว่าเราได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ยังความ ถือตัวให้เกิดว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. ความ ถือตัว ๖ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิดด้วยความถึงพร้อมแห่งจักษุ ... ความถึงพร้อมแห่ง หู ... ความถึงพร้อมแห่งจมูก ... ความถึงพร้อมแห่งลิ้น ... ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อม แห่งใจ. ความถือตัว ๗ อย่างคือ ความถือตัว ๑ ความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวและความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวเลว ๑ ความถือตัวยิ่ง ๑ ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑ ความถือตัว ๘ อย่าง คือบุคคลยังความถือตัวให้เกิด เพราะลาภ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ยัง ความถือตัวให้เกิดเพราะยศ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ยังความถือตัวให้ เกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะนินทา ๑ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะสุข ๑ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะทุกข์ ๑ ความถือตัว ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔.

เราเป็นผู้เลวกว่าคนชั้นเดียวกัน ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ เสมอกับคนเลว ๑ ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนเลว ๑. ความถือตัว ๑๐ อย่าง คือ บุคคล บางคนในโลกนี้ยังความถือตัวให้เกิดเพราะชาติ ๑ เพราะโคตร ๑ เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุล ๑ เพราะความเป็นผู้มีรูปงาม ๑ เพราะทรัพย์ ๑ เพราะการเชื้อเชิญ ๑ เพราะหน้าที่การงาน ๑ เพราะ หลักแหล่งศิลปศาสตร์ ๑ เพราะวิทยฐานะ ๑ เพราะการศึกษา ๑ เพราะปฏิภาณ ๑ เพราะวัตถุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ (เกิดเป็น ๑๒) ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความที่จิตถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใคร่สูงดุจธง นี้เรียกว่า ความถือตัว. คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว คือบุคคลผู้มีปัญญา ละ เว้น บรรเทา ทำให้หมด ทำให้ไม่มีซึ่งมารยาและมานะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ ได้แล้ว.
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๗๑๗-๑๗๕๒ หน้าที่ ๗๒-๗๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=1717&Z=1752&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=102&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=102&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=102&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=102&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=102              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]