ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๒๔๔๔] 	กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕ ประการ
                          นั้น กำลังแขน บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังต่ำทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง
                          เจริญพระชนม์ กำลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๒. กำลัง
                          อำมาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๓ กำลังคือมีชาติยิ่งใหญ่เป็น
                          กำลังที่ ๔ โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากำลังทั้งหมดนี้ไว้ได้. กำลังปัญญา
                          บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะ
                          ว่าบัณฑิตอันกำลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ความเจริญ. ถ้าบุคคลมี
                          ปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อเขาไม่ปรารถนา คนอื่นผู้ถึง
                          พร้อมด้วยปัญญา ก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย. ข้าแต่พระจอมแห่งชน
                          ชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่
                          มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่. ปัญญาเป็นเครื่อง
                          วินิจฉัยข้อความที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๑.

และชื่อเสียง คนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ย่อมได้รับสุข. ก็คนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็นพหูสูต ผู้ตั้ง อยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่ได้บรรลุปัญญาแล อนึ่ง ผู้ใดรู้ จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลการงานของผู้นั้นย่อมสำเร็จประโยชน์แห่งการงานของบุคคลผู้มีศีล มิใช่บ่อเกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด (ลาภยศสุข) ผู้มีปกติเบื่อหน่าย ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ. ส่วนประโยชน์แห่งการงานของ บุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิดอย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ. ข้าแต่พระบิดา ขอพระองค์ทรงเสวนะปัญญา อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่องตามรักษาทรัพย์ที่รวบรวมไว้ และเหตุ ๒ ประการข้างต้นที่ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่าได้ทรงทำลายทรัพย์เสียด้วยการ งานอันไม่สมควร เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจมด้วยการงานอันไม่ สมควร ดังเรือนไม้อ้อฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๙-๑๐๑๖๔ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=10139&Z=10164&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2444&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2444&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=2444&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=2444&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2444              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]