ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
             [๓๘๒] 	โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อมอาจนำแอกเกวียน
                          ไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว
                          แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็ม
                          ด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดังอริยธรรม
                          ของสัตว์ทั้งหลาย นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของ
                          ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาลไม่
                          พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
                          มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑ ชน
                          เหล่าใดก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา ในสุขเวทนา และ
                          ในอทุกขมสุขเวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสา
                          เขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่ฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่ในลาภ
                          ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ
                          ทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย
                          มีความสุขและได้ชัยชนะในที่ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรมกับ
                          การได้ลาภโดยไม่ชอบธรรมทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันชอบธรรม
                          ประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร คนไม่มี
                          ความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐ
                          กว่า คนไม่มีความรู้มียศจะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาลกับ
                          การติเตียนจากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า การ
                          สรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร ความสุขอันเกิดจากกามคุณกับ
                          ความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า
                          ความสุขอันเกิดจากกามคุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบ
                          ธรรมกับความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า ความ
                          เป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชนเหล่าใดละกามและความ
                          โกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ใน
                          โลก ชนเหล่านั้นไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕
                          และพละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หาอาสวะมิได้ ย่อม
                          ปรินิพพาน.
-----------------------------------------------------
ในจุททสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูปผู้มีฤทธิ์มาก คือ พระเรวตเถร ๑ พระโคทัตตเถระ ๑ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๔ คาถา รวมเป็น ๒๘ คาถา ฉะนี้แล.
จบ จุททสกนิบาต.
-----------------------------------------------------
เถรคาถา โสฬสกนิบาต
๑. อัญญโกณฑัญญเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
[๓๘๓] ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของพระองค์ จึงตรัสพระคาถา ที่ ๑ ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ จึงเกิดความเลื่อมใสอย่างยิ่ง ธรรม อันคลายความกำหนัด เพราะไม่ยึดถือมั่นโดยประการทั้งปวง พระผู้เป็น เจ้าได้แสดงแล้ว- ท้าวเธอตรัสชมเชยเทศนาของพระเถระดังนี้แล้ว ทรงนมัสการพระเถระ แล้วเสด็จ กลับไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระเห็นวาระจิตของปุถุชนบางจำพวก ซึ่งถูก มิจฉาวิตกครอบงำ และระลึกถึงคำสอนอันเป็นปฏิปักษ์ต่อมิจฉาวิตกนั้นแล้ว นึกถึงความที่คน มีใจอันพรากแล้วจากการฟังทั้งปวง จึงได้ภาษิตคาถา ๒ คาถา อันแสดงซึ่งเนื้อความนั้นว่า อารมณ์อันวิจิตรมีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ชะรอยจะย่ำยีบุคคลผู้คิดถึง อารมณ์ว่า งาม อันประกอบด้วยราคะในปฐพีมณฑลนี้ ฝนตกลงมาใน ฤดูฝน พึงระงับธุลีที่ถูกลมพัดไปได้ ฉันใด เมื่อใด พระอริยสาวก พิจารณาเห็นด้วยปัญญา เมื่อนั้น ความดำริของพระอริยสาวกนั้นย่อม ระงับไปฉันนั้น เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็น ทางแห่งความหมดจด เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย ปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นพระอริยสาวกนั้นย่อมหน่าย ในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด พระโกณฑัญญเถระองค์ใดเป็นผู้ ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า ละความเกิด และความตายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์อันได้ด้วยยาก พระ โกณฑัญญเถระองค์นั้นได้ตัดบ่วง คือ โอฆะ ตาปูตรึงจิต ๑- อันมั่นคง และภูเขาที่ทำลายได้ยากแล้ว ๒- ข้ามไปถึงฝั่ง คือ นิพพาน เป็นผู้เพ่ง ฌาน หลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระโกณฑัญญเถระได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่าน เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีใจฟุ้งซ่าน มักใหญ่ใฝ่สูง เพราะการคบหาด้วยมิตร ชั่วช้า จึงไปยังที่นั้นด้วยฤทธิ์ แล้วตักเตือนว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้ต่อไป ขอท่านจงละมิตรชั่วช้า เสียแล้วคบหากัลยาณมิตรทำสมณธรรมเถิด ภิกษุนั้นไม่เชื่อฟังคำของท่าน ท่านจึงเกิดความ สลดใจ เมื่อจะติเตียนข้อปฏิบัติอันผิด และสรรเสริญการปฏิบัติชอบและการอยู่สงัด ด้วย ถ้อยคำอันเป็นบุคคลาธิษฐาน จึงได้ภาษิตคาถานี้ใจความว่า ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก คบหาแต่มิตรที่เลวทราม ถูกคลื่นซัดให้ จมอยู่ในห้วงน้ำ คือ สงสาร ส่วนภิกษุมีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตัวรอด สำรวมอินทรีย์ คบหากัลยาณมิตร เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นดัง เถาหญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำ มีใจไม่ย่อท้อ ถูกเหลือบ ยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมเป็นผู้มีสติอดกลั้น ได้อยู่ในป่านั้น เหมือนช้างที่อดทนต่อศาตราวุธในยุทธสงครามฉะนั้น เราไม่ยินดีความ ตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ เรารอเวลาตาย เหมือนลูกจ้างรอให้ หมดเวลาทำงาน ฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็น อยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอเวลาตาย พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรทั้ง หลายออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว เพราะฉะนั้น จะมีประโยชน์ อะไรด้วยสัทธิวิหาริก ผู้ว่ายากแก่เรา. @๑. ความสงสัยและความโกรธความไม่พอใจ ๒. ความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น
๒. อุทายีเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระอุทายีเถระ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๒๔๔-๗๓๒๘ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7244&Z=7328&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=382&items=2&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=26&item=382&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=26&item=382&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=26&item=382&items=2&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=382              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]