ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ปุราเภทสูตรที่ ๑๐
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๑๗] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้สงบ ท่านพระโคดมพระองค์ผู้อันข้าพระองค์ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนระผู้สูงสุดแก่ข้าพเจ้าเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ฯ ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระแตก เป็นผู้ไม่อาศัย (กาล อันเป็นอดีตอนาคต) เบื้องต้นและเบื้องปลาย อันใครๆ จะ พึงนับว่า เป็นผู้ยินดีแล้วใน (กาลอันเป็นปัจจุบัน) ท่าม- กลางไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อมไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้สงบ ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้ว ด้วยวาจา ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่ เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นผู้มีปรกติเห็นความสงัดใน ผัสสะ อันใครๆ จะนำไปในทิฐิทั้งหลายไม่ได้เลย ผู้ใด ปราศจากกิเลส ไม่หลอกลวง มีปรกติไม่ทะเยอะทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่เกลียดชัง ไม่ประกอบใน คำส่อเสียด เว้นจากความเชยชมในกามคุณอันเป็นวัตถุน่า ยินดี ทั้งไม่ประกอบในการดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดอ่อน มี ปฏิภาณ ไม่เชื่อต่อใครๆ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ศึกษา เพราะ ใคร่ลาภ ไม่โกรธเคืองในเพราะความไม่มีลาภ และเป็นผู้ ไม่พิโรธ ไม่ยินดีในรสด้วยตัณหา เป็นผู้วางเฉย มีสติทุก เมื่อ ไม่สำคัญตัวว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขาใน โลก กิเลสอันฟูขึ้นทั้งหลาย ของผู้นั้น ย่อมไม่มี ฯ ตัณหานิสสัยและทิฐินิสสัยของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นรู้ธรรมแล้ว เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ความทะยานอยากเพื่อ ความมีหรือเพื่อความไม่มี ของผู้ใดไม่มี เรากล่าวผู้นั้นผู้ไม่มี ความห่วงใยในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้สงบ กิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งหลายของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว บุตร ธิดา สัตว์ เลี้ยง ไร่นาและที่ดินของผู้ใดไม่มี แม้ความเห็นว่าเป็นตัวตน ก็ดี ความเห็นว่าไม่เป็นตัวตนก็ดี อันใครๆ ย่อมไม่ได้ใน ผู้นั้น ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์จะพึงกล่าวกะผู้นั้น (ว่าผู้ ยินดีแล้ว หรือผู้ประทุษร้ายแล้ว) โดยโทษมีราคะเป็นต้นใด โทษมีราคะเป็นต้นนั้น ไม่ใช่เป็นความมุ่งหวังของผู้นั้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะถ้อยคำ ทั้งหลาย มุนีผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี ไม่มีความตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวยกย่องในบุคคลผู้ประเสริฐกว่า ผู้เสมอกัน หรือ ผู้เลวกว่า ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาแลทิฐิ) ย่อมไม่มาสู่กัปปะ ผู้ใดไม่มีความหวงแหนว่าของตนในโลก ไม่เศร้าโศกเพราะ สิ่งที่ไม่มีอยู่ และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแล เรา กล่าวว่าเป็นผู้สงบ ฯ
จบปุราเภทสูตรที่ ๑๐

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๒๙๐-๑๐๓๓๑ หน้าที่ ๔๔๖-๔๔๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10290&Z=10331&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=417&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=417&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=417&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=417&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=417              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]