ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓
[๔๑๐] เดียรถีย์บางพวก มีใจประทุษร้าย ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้อนึ่ง พวกชนที่ฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ปลงใจ เชื่อจริง ก็ติเตียน แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงการติเตียนที่เกิดขึ้น แล้ว เพราะเหตุนั้น มุนีย่อมไม่มีหลักตอ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ในโลกไหนๆ บุคคลผู้ถูกความพอใจครอบงำ แล้ว ตั้งมั่นอยู่ในความชอบใจ จะพึงล่วงทิฐิของตนได้ อย่างไรเล่า บุคคลกระทำทิฐิเหล่านั้นให้บริบูรณ์ด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น ผู้ใดไม่ถูกเขาถามเลย กล่าว อวดอ้างศีลและวัตรของตนแก่ผู้อื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าว ผู้นั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม ผู้ใดกล่าวอวดตนด้วยตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวการอวดของผู้นั้นว่า ผู้นี้ไม่มีอริยธรรม ส่วนภิกษุผู้สงบ มีตนดับแล้ว ไม่กล่าวอวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ นั้นว่า มีอริยธรรม ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลก ไหนๆ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวการไม่กล่าวอวดของภิกษุ นั้นว่า ภิกษุนี้มีอริยธรรม ธรรม คือ ทิฐิอันปัจจัยกำหนด ปรุงแต่งแวดล้อม ไม่ผ่องแผ้ว ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็น อย่างนี้ เพราะเหตุที่ผู้นั้นเห็นอานิสงส์ มีคติวิเศษเป็นต้นใน ตน ฉะนั้นจึงเป็นผู้อาศัยทิฐินั้นอันละเอียด อาศัยความกำเริบ นรชนตัดสินธรรมที่ตนยึดมั่นแล้วในธรรมทั้งหลาย ไม่พึง ล่วงการยึดมั่นด้วยทิฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเหตุนั้น นรชน ย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความยึดมั่นด้วยทิฐิ เหล่านั้น ก็บุคคลผู้มีปัญญา ไม่มีทิฐิอันปัจจัยกำหนดแล้ว ในภพและมิใช่ภพ ในโลกไหนๆ บุคคลผู้มีปัญญานั้น ละมายาและมานะได้แล้ว จะพึงถึงการนับเข้าในคติพิเศษใน ในนรกเป็นต้น ด้วยคติพิเศษอะไร บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีตัณหาและทิฐิ ก็บุคคลผู้มีตัณหาและทิฐิ ย่อมเข้าถึง วาทะในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นจะพึงกล่าวกะพระขีณาสพผู้ไม่มี ตัณหาและทิฐิว่า ผู้กำหนัดหรือว่าผู้ประทุษร้ายได้อย่างไร ด้วยความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร ความเห็นว่า เป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญ ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ นั้นเลย เพราะพระขีณาสพนั้น ละทิฐิได้ทั้งหมดในอัตภาพ นี้ ฉะนี้แล ฯ
จบทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๐๐๓-๑๐๐๓๗ หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10003&Z=10037&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=410&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=410&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=410&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=410&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=410              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]