ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
[๓๔] ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเครือเถาย่าน ทราย ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดัง วานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น ตัณหานี้ลามก ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบาง อันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น บุคคลใดแล ย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาด น้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะท่าน ทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ จงมีความเจริญ ท่านทั้งหลาย จงขุดรากแห่งตัณหาเสีย ดุจบุรุษต้องการแฝกขุดแฝก ฉะนั้น มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อ ฉะนั้น ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูก ตัดแล้วก็กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอน เชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ฉันนั้น ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคล ผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์ซึ่งทำให้ใจเอิบ อาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฐิชั่ว กระแสตัณหาย่อม ไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดังเครือเถาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้นอันเกิด แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา โสมนัสที่ซ่านไปแล้ว และที่เป็นไปกับด้วยความเยื่อใย ย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์ เหล่านั้นอาศัยความสำราญ แสวงหาสุข นรชนเหล่านั้นแล เป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้ง ห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้ว กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้วด้วย สังโยชน์และธรรมเป็นเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ สิ้นกาลนาน หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อมล้อม แล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับ กระส่ายอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังวิราคะ ธรรมแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาที่ทำความสะดุ้งเสีย ท่าน ทั้งหลายจงเห็นบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า มีใจ น้อมไปแล้วในความเพียรดุจป่า พ้นแล้วจากตัณหาเพียงดัง ป่า ยังแล่นเข้าหาป่านั่นแล บุคคลนี้พ้นแล้วจากเครื่องผูก ยังแล่นเข้าหาเครื่องผูก นักปราชญ์ทั้งหลายหากล่าวเครื่อง ผูกซึ่งเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้อง ว่ามั่นไม่ สัตว์ผู้กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้ว ในแก้ว มณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย และความห่วงใยในบุตรและ ภริยา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวเครื่องผูกอันหน่วงลง อัน หย่อน อันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก นั้นว่ามั่น นักปราชญ์ ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ละกามสุขแล้ว ย่อมเว้นรอบ สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อม แล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา ดุจแมง มุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ย่อมละ ทุกข์ทั้งปวงไป ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีต เสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จง ปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย จักเป็นผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่ เข้าถึงชาติและชราอีก ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตก ย่ำยี ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อม ทำเครื่องผูกให้มั่น ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบ วิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่ ผู้นั้นแลจักทำตัณหา ให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้ ภิกษุผู้ถึง ความสำเร็จแล้ว ไม่มีความสะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันยังสัตว์ให้ไปสู่ภพ ได้แล้ว อัตภาพของภิกษุนี้มีในที่สุด ภิกษุปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุติและบท รู้จักความประชุมเบื้อง ต้น และเบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีสรีระ ในที่สุด เรากล่าวว่า มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ เราเป็น ผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง อันตัณหา และทิฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่าง พ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้นตัณหา รู้ยิ่งเอง พึงแสดงใคร เล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์) การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชำนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง ความ สิ้นตัณหาย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อม ฆ่าคนมีปัญญาทราม แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมี ปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้ เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความ อยากได้โภคทรัพย์ ฉะนั้น นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคล ถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ เพราะเหตุ นั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ ย่อมมี ผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะ เป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่าน ผู้ปราศจากโมหะ ย่อมมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็น โทษ หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา ย่อมมี ผลมาก ฯ
จบตัณหาวรรคที่ ๒๔

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๖๒-๑๒๔๓ หน้าที่ ๕๐-๕๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1162&Z=1243&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=34&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=34&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=34&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=34&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]