ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
สมาธิสูตรที่ ๔
[๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตาม แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมา แต่ที่ไกล เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่ง ภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตร แล้ว จักทรงจำไว้ ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟัง อรรถแห่งภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตร แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้ สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้ แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตาม แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบทุติยวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหานามสูตรที่ ๑ ๒. มหานามสูตรที่ ๒ ๓. นันทิยสูตร ๔. สุภูติ- *สูตร ๕. เมตตาสูตร ๖. ทสมสูตร ๗. โคปาลกสูตร ๘. สมาธิสูตรที่ ๑ ๙. สมาธิสูตรที่ ๒ ๑๐. สมาธิสูตรที่ ๓ ๑๑. สมาธิสูตรที่ ๔ ฯ
-----------------------------------------------------
พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณณาสก์
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขัง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำ แล้วหรือยัง ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชา โคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อฝูงโค เป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถจะ เลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๑ ประการ ก็เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ เป็น ผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความ เป็นอนัตตาในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ เป็นผู้ไม่ สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลาย ไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณา เห็นความสละคืนในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเป็น ทุกข์ ความเป็นอนัตตา ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในหู ... ในจมูก ... ในลิ้น ... ในกาย ... ในใจ ... ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ ในจักขุวิญญาณ ในโสตวิญญาณ ในฆานวิญญาณ ในชิวหาวิญญาณ ในกายวิญญาณ ในมโนวิญญาณ ในจักขุ สัมผัส ในโสตสัมผัส ในฆานสัมผัส ในชิวหาสัมผัส ในกายสัมผัส ในมโน- *สัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ในเวทนา อันเกิดแต่ฆานสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่กาย สัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส ในรูปสัญญา ในสัททสัญญา ในคันธ สัญญา ในรสสัญญา ในโผฏฐัพพสัญญา ในธรรมสัญญา ในรูปสัญเจตนา ในสัททสัญเจตนา ในคันธสัญเจตนา ในรสสัญเจตนา ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ในธรรมสัญเจตนา ในรูปตัณหา ในสัททตัณหา ในคันธตัณหา ในรสตัณหา ในโผฏฐัพพตัณหา ในธรรมตัณหา ในรูปวิตก ในสัททวิตก ในคันธวิตก ใน รสวิตก ในโผฏฐัพพวิตก ในธรรมวิตก ในรูปวิจาร ในสัททวิจาร ในคันธวิจาร ในรสวิจาร ในโผฏฐัพพวิจาร ในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ฯลฯ ย่อมบูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็น พ่อฝูงโค เป็นผู้นำฝูงโค ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย ได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็น ผู้สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้สามารถพิจารณาเห็น ความสละคืนในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ เมตตาเจโตวิมุติ ๑ กรุณาเจโตวิมุติ ๑ มุทิตาเจโตวิมุติ ๑ อุเบกขาเจโตวิมุติ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ธรรม ๑๑ ประการ เป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ เมตตา เจโตวิมุติ ๑ กรุณาเจโตวิมุติ ๑ มุทิตาเจโตวิมุติ ๑ อุเบกขาเจโตวิมุติ ๑ อากาสา- *นัญจายตยฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ มทะ ปมาทะ ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ... วิญญา- *ณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ นี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ ... มทะ ปมาทะ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นปลื้มใจ ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ พระสูตรที่รวมอยู่ในอังคุตตรนิกายมี ๙,๕๕๗ สูตรฉะนี้แล ฯ
จบเอกาทสกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๘๖๘๖-๘๗๘๑ หน้าที่ ๓๗๗-๓๘๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=8686&Z=8781&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=228&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=228&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=24&item=228&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=24&item=228&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=228              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]