ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สารีปุตตสูตร
[๔๗๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดย สังเขปก็มี โดยพิสดารก็มี ทั้งโดยสังเขปและพิสดารก็มี แต่บุคคลผู้ที่จะรู้ทั่วถึง ธรรมหาได้ยาก ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่ พระสุคต บัดนี้ เป็นการสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงธรรมโดยสังเขป บ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยสังเขป ทั้งโดยพิสดารบ้าง จักมีผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ ภ. ดูกรสารีบุตร เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายควรศึกษาอย่างนี้ว่า ในกายอันมีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอก จักไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ เราจักเข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ ดูกรสารีบุตร เธอทั้งหลายควร ศึกษาอย่างนี้แล เพราะภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณ นี้และในสรรพนิมิตภายนอก กับภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ ซึ่งเป็นที่ไม่ มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหา ถอนสังโยชน์ทิ้ง กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะการรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยการละมานะโดยชอบ ดูกรสารีบุตร ก็เราหมายเอาข้อนี้ ได้กล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนสูตร ดังนี้ว่า เรากล่าวธรรมสำหรับละกามสัญญา และโทมนัสทั้งสอง และธรรมเป็นเหตุบรรเทาความง่วง และธรรมเป็นเครื่องห้าม กันความรำคาญ อันมีอุเบกขากับสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปในเบื้องหน้าว่า เป็น ธรรมสำหรับทำลายล้างอวิชชา เป็นเครื่องพ้นกิเลสด้วยปัญญา ที่รู้ทั่วถึง ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๕๑๒-๓๕๓๔ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3512&Z=3534&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=472&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=472&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=472&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=472&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=472              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]