ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
             [๒๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
ครั้งนั้น พวกอุบาสกพากันมาสู่อารามเพื่อฟังธรรม เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมจบแล้ว ภิกษุ
ชั้นเถระกลับไปยังที่อยู่ ภิกษุชั้นนวกะสำเร็จการนอนร่วมกับพวกอุบาสกอยู่ในศาลาที่ฟังธรรม
นั้นเอง เผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมอ กรนอยู่.
             พวกอุบาสกต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้สำเร็จการ-
*นอนเผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมอ กรนอยู่เล่า
             ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระภิกษุทั้งหลาย จึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่-
*พระผู้มีพระภาค
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายสำเร็จการนอนร่วมกับ อนุปสัมบัน จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๔. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระนวกะ จบ.
เรื่องสามเณรราหุล
[๒๙๐] กาลต่อมา พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครโกสัมพี เสด็จจาริกโดยลำดับ, ถึงพระนครโกสัมพีแล้ว ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่พทริการาม เขตพระนครโกสัมพีนั้น. ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้กะท่านสามเณรราหุลว่า อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาคทรง- *บัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน อาวุโสราหุล ท่านจงรู้ สถานที่ควรนอน. วันนั้น ท่านสามเณรราหุลหาที่นอนไม่ได้ จึงสำเร็จการนอนในวัจจกุฎี. ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมแล้ว ได้เสด็จไปวัจจกุฎี, ครั้นถึง จึงทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ใครอยู่ในวัจจกุฎีนี้ ท่านสามเณรราหุลทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เหตุไรเธอจึงนอน ณ ที่นี้ จึงท่านสามเณรราหุล กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สำเร็จการนอน ร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๒-๓ คืน ... ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๕๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน, เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องสามเณรราหุล จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน. บทว่า ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน คือเกินกว่า ๒-๓ คืน. บทว่า ร่วม คือด้วยกัน. ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ภูมิสถานเป็นที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก. คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า ในวันที่ ๔ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว อนุปสัมบัน นอนแล้ว ภิกษุนอน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุนอนแล้ว อนุปสัมบันนอน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. หรือนอนทั้งสอง, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๙๒] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน, ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ติกทุกกฏ
ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ. อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ ทุกกฏ. อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ไม่ต้อง อาบัติ
อนาปัตติวาร
[๒๙๓] ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ ๒ คืนแล้ว คืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณ แล้วอยู่ใหม่ ๑ อยู่ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด ๑ อยู่ในสถานที่ บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด ๑ อยู่ในสถานที่ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑ อนุปสัมบันนอน ภิกษุนั่ง ๑ ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง ๑ หรือนั่งทั้งสอง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- *กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระอนุรุทธเถระ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๗๑๖๘-๗๒๕๑ หน้าที่ ๒๙๓-๒๙๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=7168&Z=7251&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=289&items=5&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=289&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=2&item=289&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=2&item=289&items=5&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=289              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]