ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เทวจาริกสูตรที่ ๓
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๐๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไป ปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเทวดาเหล่านั้นว่า [๑๕๐๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ- *พุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อม ใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า การประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. [๑๕๐๖] เทวดาทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระ- *สงฆ์ ... หมู่สัตว์นี้ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้อง หน้า การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดี แล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว หมู่สัตว์นี้ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบราชการามวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สหัสสสูตร ๒. พราหมณสูตร ๓. อานันทสูตร ๔. ทุคติสูตรที่ ๑ ๕. ทุคติสูตรที่ ๒ ๖. มิตตามัจจสูตรที่ ๑ ๗. มิตตามัจจสูตรที่ ๒ ๘. เทวจาริกสูตรที่ ๑ ๙. เทวจาริกสูตรที่ ๒ ๑๐. เทวจาริกสูตรที่ ๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๘๗๙๔-๘๘๒๓ หน้าที่ ๓๖๗-๓๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8794&Z=8823&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1504&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1504&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=1504&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=1504&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1504              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]