ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. โสตาปัตติสังยุต
เวฬุทวารวรรคที่ ๑
ราชาสูตร
คุณธรรมของพระอริยสาวก
[๑๔๑๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติเป็นอิสราธิบดีในทวีปทั้ง ๔ สวรรคตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ได้เป็นสหายของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอแวดล้อมไปด้วย หมู่นางอัปสร เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ณ สวนนันทวัน ใน ดาวดึงส์พิภพนั้น ท้าวเธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็จริง ถึงอย่างนั้น ท้าวเธอก็ยังไม่พ้นจาก นรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน จากปิตติวิสัย และจากอบาย ทุคติ วินิบาต. [๑๔๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเยียวยาอัตภาพอยู่ด้วยคำข้าวที่แสวงหามาด้วย ปลีแข้ง นุ่งห่มแม้ผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็ พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน จากปิตติวิสัย และจากอบาย ทุคติ วินิบาต ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของ ทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้. [๑๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การได้ทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการ การได้ ทวีปทั้ง ๔ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน ของการได้ธรรม ๔ ประการ.
จบ สูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๘๒๐๗-๘๒๓๔ หน้าที่ ๓๔๔-๓๔๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8207&Z=8234&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1411&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1411&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=1411&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=1411&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1411              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]