ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๑๙๗.

โกฏฐิกสูตร
[๒๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ในป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่าน พระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักผ่านแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระ- *สารีบุตร จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ หู เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของหู จมูกเป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจมูก ลิ้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรส รสเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้น กายเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกาย ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหรือ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่าน- *โกฏฐิกะ จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ในจักษุและรูปนั้น หูเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของหูหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้น เป็น เครื่องเกาะเกี่ยวในหูและเสียงนั้น จมูกเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นเป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของจมูกหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและ กลิ่นทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจมูกและกลิ่นนั้น ลิ้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรส รสก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้นหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยลิ้นกับรสทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในลิ้นและรสนั้น กายเป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกายหามิได้ ความ พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ในกายและโผฏฐัพพะนั้น ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๙๘.

เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ [๒๙๖] ดูกรท่านโกฏฐิกะ โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวชอบหรือ ฯ ก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่อย่างนั้น โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้นเขาผูกติดกันด้วยสายทามหรือ ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายทามหรือเชือกนั้นเป็นเครื่องเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น ฉันใด ฯ สา. ดูกรท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหา มิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็น เครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ [๒๙๗] ดูกรท่านโกฏฐิกะ จักษุจักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป หรือรูป จักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดย ชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะจักษุไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสอง นั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ฯลฯ ใจจักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์จักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะใจไม่เป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๙๙.

และธรรมารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ จึงปรากฏ ดูกรท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ จักษุไม่ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและ รูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของใจ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสอง นั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ [๒๙๘] ดูกรท่านโกฏฐิกะ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระ- *องค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยพระเนตร แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่เลย พระองค์ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระโสตของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ยังทรง ฟังเสียงด้วยพระโสต แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิต หลุดพ้นดีแล้ว พระนาสิกของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงสูดกลิ่นด้วย พระนาสิก แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระชิวหาของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระกายของ พระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกาย แต่พระองค์ ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระมนัสของพระผู้มี- *พระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่พระองค์ไม่มี ความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ดูกรท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบ โดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของ จักษุ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัย ใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๕๒๙-๔๖๐๒ หน้าที่ ๑๙๗-๑๙๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4529&Z=4602&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=295&items=4&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=295&items=4&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=18&item=295&items=4&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=18&item=295&items=4&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=295              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]