ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. สัญญาสูตร
ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
[๒๖๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ ภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก (หญ้า) ทุกชนิด แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ กาม ราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ รูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายแล้ว จับ ปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้น เหมือนกันแล. [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว ในมะม่วงเหล่านั้น มะม่วง เหล่าใดเนื่องด้วยขั้ว มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของหลุดไปตามขั้วมะม่วงนั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนใดๆ แห่งเรือนยอด กลอนทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด น้อมไปที่ยอด ประชุมลงที่ยอด ยอด ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแลฯ [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากใดๆ ไม้กระลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฉันนั้นเหมือน กันแล. [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นใดๆ จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือน กันแล. [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกใดๆ มะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มี กลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อยใดๆ ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้เสด็จไปตาม (คล้อยตาม) พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้ น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงดาวทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง แสงดาวทั้งหมดนั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงพระจันทร์ แสงพระจันทร์ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าแสงดาว เหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันอยู่ในอากาศทั่วไป แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง ได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร? กระทำให้ มากแล้วอย่างไร? จึงครอบงำกามราคะทั้งปวง ฯลฯ ถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด. อนิจจ- *สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้. เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนขึ้น ซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะ ทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ ปุปผวรรคที่ ๕.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นทีสูตร ๖. สามุททกสูตร ๒. ปุปผสูตร ๗. คัททูลสูตรที่ ๑ ๓. เผณปิณฑสูตร ๘. คัททูลสูตรที่ ๒ ๔. โคมยสูตร ๙. นาวาสูตร ๕. นขสิขสูตร ๑๐. สัญญาสูตร.
จบ มัชฌิมปัณณาสก์.
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ
๑. อุปายวรรค ๒. อรหันตวรรค ๓. ขัชชนิยวรรค ๔. เถรวรรค ๕. ปุปผวรรค รวม ๕ วรรค ทุติยปัณณาสก์ก็เรียกในขันธสังยุตนั้น.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๔๐๗-๓๔๖๖ หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3407&Z=3466&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=263&items=11              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=263&items=11&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=17&item=263&items=11              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=17&item=263&items=11              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=263              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]