ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชรา
มรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
จักล่วงพ้นชรามรณะได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อม
ไม่รู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อม
ไม่รู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
จักล่วงพ้นสังขารทั้งหลายได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ
             [๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งแล
ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรา
มรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น จักล่วงพ้นชรามรณะได้ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมรู้
ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้
ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุ
เกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นสังขารทั้งหลายได้ ดังนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ทสพลวรรคที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ทสพลสูตรที่ ๑ ๒. ทสพลสูตรที่ ๒ ๓. อุปนิสสูตร ๔. อัญญติตถิยสูตร ๕. ภูมิชสูตร ๖. อุปวาณสูตร ๗. ปัจจยสูตร ๘. ภิกขุสูตร ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๑๐. สมณพราหมสูณตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔
๑. ภูตมิทสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๑๔๗-๑๑๘๐ หน้าที่ ๔๗-๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1147&Z=1180&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=96&items=2&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=96&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=96&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=96&items=2&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=96              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]