ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๗๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน
๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระมหากัปปินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯ
             [๗๒๖] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นเธอทั้ง ๒ มาอยู่แต่ไกล
จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นภิกษุ
สหาย ๒ รูปผู้เป็นสัทธิวิหาริกของมหากัปปินะกำลังมาอยู่นั่นหรือไม่ ฯ
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๒ รูปนั่นแล มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
แต่ไม่ได้สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอทั้ง ๒ กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้อง
การนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
             [๗๒๗] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
                          ภิกษุเหล่านี้เป็นสหายกัน เป็นผู้มีความรู้คู่เคียงกันมาตลอด
                          กาลนาน สัทธรรมของเธอเหล่านั้นย่อมเทียบเคียงได้ในธรรม
                          ที่พระพุทธเจ้าประกาศแล้ว เธออันกัปปินะแนะนำดีแล้วใน
                          ธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว เธอทั้งสองชำนะมารพร้อม
                          ทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบภิกขุสังยุตต์ที่ ๙
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โกลิตสูตร ๒. อุปติสสสูตร ๓. ฆฏสูตร ๔. นวสูตร ๕. สุชาตสูตร ๖. ภัททีสูตร ๗. วิสาขสูตร ๘. นันทสูตร ๙. ติสสสูตร ๑๐. เถรนามสูตร ๑๑. กัปปินสูตร ๑๒. สหาย สูตร ฯ
-----------------------------------------------------
รวมสังยุตต์ที่มีในภาคนี้ คือ
๑. อภิสมยสังยุตต์ ๒. ธาตุสังยุตต์ ๓. อนมตัคคสังยุตต์ ๔. กัสสปสังยุตต์ ๕. ลาภสักการสังยุตต์ ๖. ราหุลสังยุตต์ ๗. ลักขณสังยุตต์ ๘. โอปัมมสังยุตต์ ๙. ภิกขุสังยุตต์ ฯ
จบนิทานวรรคสังยุตต์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๔๙๘-๗๕๓๒ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=7498&Z=7532&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=725&items=3&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=725&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=725&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=725&items=3&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=725              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]