ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๑๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชาณุสโสณีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฯ
             [๑๗๓] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วชาณุสโสณีพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มี-
*พระภาคว่า พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอแล ฯ
             ภ. ดูกรพราหมณ์ โวหารนี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง ฯ
             ชา. พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ ฯ
             ภ. ดูกรพราหมณ์ โวหารนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เป็นส่วนสุดที่สอง
ดูกรพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้น
ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี
วิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็
เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณ
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๑๗๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณีพราหมณ์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่ง
นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คน
หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. โลกายติกสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๐๓๔-๒๐๕๘ หน้าที่ ๘๓-๘๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=2034&Z=2058&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=172&items=3&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=172&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=172&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=172&items=3&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=172              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]