ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๑๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๗๗
เป็นไฉน ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ
จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล
ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี
ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา
และมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
ธรรมฐิติญาณของชาตินั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ
เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพ
ไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑
ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ
เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า
เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคต-
*กาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทาน
ไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอุปาทานนั้น มีความสิ้น
ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล
ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี
อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน
จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ
ของตัณหานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๔.

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนา ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ เวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึง ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ ของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูป ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ใน อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๕.

ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็น ธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ สังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้น มีความสิ้น ความ เสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ ของอวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๕๓๒-๑๕๙๔ หน้าที่ ๖๓-๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1532&Z=1594&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=127&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=127&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=127&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=127&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=127              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]