ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๘๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมือง
อาฬวี ฯ
             ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จออกมา ฯ
             ยักษ์กล่าวว่า ท่านจงเข้าไป สมณะ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จเข้าไป ฯ
             แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ฯลฯ
             [๘๓๙] ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละท่านจะทำอะไรก็จง
ทำเถิด ฯ
             สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เราจักทำ
จิตของท่านให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่านหรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำ
คงคาฝั่งโน้น ฯ
             อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม
โลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้
ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่ง
โน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด ฯ
             [๘๔๐] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
                          อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนใน
                          โลกนี้ อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
                          อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์
                          ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด ฯ
             [๘๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมอัน
                          บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แลเป็น
                          รสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลายนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของ
                          ผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด ฯ
             [๘๔๒] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
                          คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ข้ามอรรณพได้อย่างไร ล่วง
                          ทุกข์ได้อย่างไร บริสุทธิ์ได้อย่างไร
             [๘๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่
                          ประมาท ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วย
                          ปัญญา ฯ
             [๘๔๔] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
                          คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้ คนได้
                          ชื่อเสียงอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คน
                          ละโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก ฯ
             [๘๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่
                          ด้วยดีย่อมได้ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะ
                          เจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อม
                          ได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคล
                          ใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้
                          คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไป
                          แล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอัน
                          มากเหล่าอื่นดูซิว่าในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ
                          และขันติ ฯ
             [๘๔๖] อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า
                          ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากใน
                          บัดนี้ วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงสัมปรายิกประโยชน์ พระพุทธเจ้า
                          เสด็จมาอยู่เมืองอาฬวี เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้
                          วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงทานที่บุคคลให้ในที่ใดมีผลมาก ข้าพเจ้า
                          จักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรีไปสู่บุรี พลางนมัสการ
                          พระสัมพุทธเจ้าและพระธรรมซึ่งเป็นธรรมที่ดี ฯ
จบยักขสังยุตบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร คือ
อินทกสูตรที่ ๑ สักกสูตรที่ ๒ สูจิโลมสูตรที่ ๓ มณิภัทสูตรที่ ๔ สานุสูตรที่ ๕ ปิยังกรสูตรที่ ๖ ปุนัพพสุสูตรที่ ๗ สุทัตตสูตรที่ ๘ สุกกา- *สูตร ๒ สูตร จีราสูตร ๑ อาฬวกสูตร ๑ รวม ๑๒ สูตร ฯ
-----------------------------------------------------
สักกสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
สุวีรสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๘๗๙-๖๙๔๖ หน้าที่ ๒๙๖-๓๐๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6879&Z=6946&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=838&items=9&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=838&items=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=838&items=9&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=838&items=9&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=838              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]