ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อุชฌานสัญญีสูตรที่ ๕
[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วง ไปแล้ว พวกเทวดาผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษมากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระ- *วิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วจึงได้ลอย อยู่ในอากาศ ฯ [๑๐๗] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นลอยอยู่ในอากาศแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ใน สำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลใดประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอย่างอื่น ให้เขารู้โดย อาการอย่างอื่น บุคคลนั้นลวงปัจจัยเขากินด้วยความเป็น ขโมย เหมือนความลวงกินแห่งพรานนก ก็บุคคลทำกรรมใด ควรพูดถึงกรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลนั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่ ฯ [๑๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาทั้งหลายนี้ว่า ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟัง ส่วนเดียว บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความเป็นไปของโลกแล้ว รู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องใน โลกแล้วย่อมไม่พูดโดยแท้ ฯ [๑๐๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นลงมายืนบนแผ่นดิน หมอบ ลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ โทษของพวกข้าพเจ้าล่วงไปแล้ว พวกข้าพเจ้าเหล่า ใด เป็นพาลอย่างไร เป็นผู้หลงแล้วอย่างไร เป็นผู้ไม่ฉลาดอย่างไร ได้สำคัญ แล้วว่าพระผู้มีพระภาคอันพวกเราพึงรุกราน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคโปรดอดโทษของพวกข้าพเจ้านั้น เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป ฯ ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงยิ้มแย้ม ฯ [๑๑๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับ ขึ้นไปบนอากาศ เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า เมื่อเราแสดงโทษอยู่ ถ้าบุคคลใดมีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอด สวมเวร หากว่าในโลกนี้ โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี เวร ทั้งหลายก็ไม่สงบ ในโลกนี้ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะ เหตุไร โทษทั้งหลายของใครก็ไม่มี ความผิดของใครก็ไม่มี ใครไม่ถึงแล้วซึ่งความหลงใหล ในโลกนี้ ใครย่อมเป็นผู้มี ปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง ฯ [๑๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โทษทั้งหลายก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มีแก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้ แล้ว ผู้เอ็นดูแก่สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้นไม่ถึงแล้วซึ่ง ความหลงใหล พระตถาคตนั้นย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มี สติในกาลทั้งปวง เมื่อพวกท่านแสดงโทษอยู่ หากบุคคลใด มีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก ย่อมไม่อด โทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอดสวมเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เรา ย่อมอดโทษแก่ท่านทั้งหลาย ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๘๗-๗๓๐ หน้าที่ ๓๑-๓๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=687&Z=730&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=106&items=6              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=106&items=6&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=106&items=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=106&items=6              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=106              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]