ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๙๓๔] 	ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์อัน
                          ให้เกิดความขลาดมากของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว
                          อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่นๆ.
ว่าด้วยสหธรรมิก
[๙๓๕] คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ทั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์อันให้ เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว ความว่า เว้นสหธรรมิกชน ๗ จำพวก (คือภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา) คนเหล่าใด เหล่าหนึ่งผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ เรียกว่า คนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น. คนพวกนั้นถามปัญหาบ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่า ภิกษุเห็นหรือได้ ยินอารมณ์อันให้เกิดความขลาดเป็นอันมากของคนเหล่านั้นแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวสะทกสะท้าน ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรนหวาดเสียวครั่นคร้าม ไม่พึงกลัว ไม่พึงถึงความสยดสยอง คือ เป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่หวาดเสียว ไม่หนีไป เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก ความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมากของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว.
อันตราย ๒ อย่าง
[๙๓๖] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น ความว่า อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น อันภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ มีอยู่. ชื่อว่าอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ ๑ อันตรายที่ปกปิด ๑ ฯลฯ เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ ชื่อว่าอันตราย. คำว่า ภิกษุ ทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล ความว่า อันตรายทั้งหลายอันผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความ ปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน พึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์อันให้ เกิดความขลาดมากของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๑๔๔-๑๑๑๗๑ หน้าที่ ๔๖๗-๔๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=11144&Z=11171&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=934&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=934&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=934&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=934&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=934              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]