ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๙๒๐] 	ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? จึงเป็นผู้มีสมาธิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
                          มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทองกำจัด
                          มลทินแห่งทอง ฉะนั้น.
ว่าด้วยสมาทานสิกขา ๓
[๙๒๑] คำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? ความว่า ภิกษุนั้นถือเอา สมาทาน ยึดถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิกขาอะไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร?. คำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ ความว่า มีจิตมีอารมณ์เดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ถูกอารมณ์ร้ายกระทบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า มีปัญญารักษาตน ความว่า มีปัญญารักษาตน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า มีสติ ความว่า มีสติ ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อ เจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา เห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ. ภิกษุนั้น เรียกว่าสติ. พระเถระย่อมทูลถามถึงอธิศีลสิกขาด้วยคำว่า ภิกษุนั้น สมาทานสิกขา อะไร? ทูลถามถึงอธิจิตสิกขาด้วยคำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ทูลถามถึงอธิปัญญาสิกขา ด้วยคำว่า มีปัญญารักษาตน. ทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งสติด้วยคำว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ.
ว่าด้วยการกำจัดมลทิน
[๙๒๒] คำว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง กำจัดมลทินแห่งทอง ฉะนั้น ความว่า คนทำทอง เรียกว่าช่างทอง. ทองคำเรียกว่าทอง. ช่างทองย่อมเป่า ไล่ กำจัดมลทิน อย่างหยาบแห่งทองบ้าง เป่า ไล่ กำจัด มลทินอย่างกลาง แห่งทองบ้าง เป่า ไล่ กำจัด มลทินอย่างละเอียดแห่งทองบ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสอย่างหยาบของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างกลาง ของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างละเอียดของตนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมลทินคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ของตน อันทำให้เป็นคนบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา อันเป็นไปในฝ่ายแห่งทุกข์ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉา- *สังกัปปะ ด้วยสัมมาสังกัปปะ ซึ่งมิจฉาวาจา ด้วยสัมมาวาจา ซึ่งมิจฉากัมมันตะ ด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ซึ่งมิจฉาอาชีวะ ด้วยสัมมาอาชีวะ ซึ่งมิจฉาวายามะ ด้วยสัมมาวายามะ ซึ่งมิจฉาสติ ด้วยสัมมาสติ ซึ่งมิจฉาสมาธิ ด้วยสัมมาสมาธิ ซึ่งมิจฉาญาณ ด้วยสัมมาญาณ ซึ่งมิจฉาวิมุติ ด้วยสัมมาวิมุติ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัด มลทินของตน เหมือนช่างทองกำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงทูลถามว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทองกำจัด มลทินแห่งทอง ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๙๖๗-๑๑๐๐๖ หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10967&Z=11006&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=920&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=920&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=920&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=920&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=920              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]