ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๙๐๕] 	ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะในที่นั้นมีอารมณ์
                          อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ในที่นอนที่นั่ง
                          อันไม่มีเสียงกึกก้อง
ว่าด้วยที่นอนสูงต่ำ
[๙๐๖] คำว่า อันสูงและต่ำ ในคำว่า ในที่นอนอันสูงและต่ำ ความว่า สูงและต่ำ คือ เลวประณีต ดีและชั่ว. เสนาสนะ คือ วิหาร เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ เรียกว่า ที่นอน ในคำว่า ในที่นอนทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่ นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ [๙๐๗] คำว่า ร้องอยู่ ในคำว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาด เสียว ความว่า ภิกษุร้อง เรียก บันลือ ออกเสียงอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า อารมณ์อัน น่าหวาดเสียว มีเท่าไร มีอย่างไร มีประมาณเท่าไร มีกำหนดเท่าไร มีมากเท่าไร. ชื่อว่า อารมณ์น่าหวาดเสียวเหล่านั้น คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว. [๙๐๘] คำว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว ในคำว่า อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ความว่า ภิกษุเห็นหรือได้ยินแล้วซึ่งอารมณ์อันน่าหวาดกลัวเหล่าใด อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึง หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ตกใจ ไม่กลัว ไม่ถึง ความสยดสยอง ไม่พึงเป็นผู้ขลาด ไม่ขยาด ไม่หวาดหวั่น ไม่หนี ละความกลัวความหวาดเสียว ปราศจากขนลุกชูชัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว. [๙๐๙] คำว่า ในที่นอนที่นั่งอื่นไม่เสียงกึกก้อง ความว่า ในเสนาสนะอันมีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่ การหลีกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง. เพราะเหตุนั้น พระ- *สารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะในที่นั้นมีอารมณ์ อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในที่นอนที่นั่ง อันไม่มีเสียงกึกก้อง.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๖๘๐-๑๐๗๐๕ หน้าที่ ๔๔๘-๔๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10680&Z=10705&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=905&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=905&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=905&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=905&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=905              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]