ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๘๙๒] 	เรามีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่
                          อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ของคนหมู่มาก
                          ซึ่งเนื่องในศาสนานี้.
ว่าด้วยพระนามว่าพุทธะ
[๘๙๓] ชื่อว่า พุทธะ ในคำว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ คือ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีใครเป็นอาจารย์ ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรม ทั้งหลายอันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อน ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญในเพราะความตรัสรู้นั้น และทรงถึงความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย. คำว่า พุทฺโธ ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า พระอรรถว่าอะไร? ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า ให้หมู่สัตว์ตรัสรู้. เพราะเป็นพระสัพพัญญ. เพราะเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง. เพราะเป็นผู้ทรงรู้ยิ่ง เพราะเป็นผู้เบิกบาน. เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ. เพราะเป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส. เพราะอรรถว่า เป็นผู้ ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว. เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว. เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว. เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว. เพราะอรรถ ว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค. เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยม. ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะความรู้ พระนามว่า พุทฺโธนี้ พระมารดา พระบิดา พระภาคา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีใน อรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำแจ่มแจ้งซึ่ง พระอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ คงแห่งโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. [๘๙๔] ความอาศัย ในคำว่า ไม่อาศัย มี ๒ อย่าง คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑. ความอาศัยด้วยตัณหาเป็นไฉน? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ความยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้นว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง เป็นของของเรา ความยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นด้วย สามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา.
ว่าด้วยทิฏฐิ
ความอาศัยด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคา- *หิกาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความ ยึดถือ ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าแน่นอน ว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริง อันใด เห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า ความอาศัยด้วยทิฏฐิ. พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคือความอาศัยด้วยทิฏฐิ เพราะทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วยทิฏฐิ. พระผู้มีพระภาคจึงไม่อาศัย ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ทรงออกไป สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องซึ่ง จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ทรงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไม่อาศัย.
ว่าด้วยผู้คงที่โดยอาการ ๕
[๘๙๕] คำว่า ผู้คงที่ ความว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่า เป็นผู้คงที่โดยอาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ๑ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าสละแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออก ซึ่งธรรมนั้นๆ ๑. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อย่างไร? พระผู้มีพระภาค เป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ในนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์. หากว่าชนทั้งหลายพึงลูบไล้ พระพาหาข้างหนึ่งแห่งพระผู้ มีพระภาคด้วยเครื่องหอม พึงถากพระพาหาข้างหนึ่งด้วยมีด. พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงมีความ ยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น. พระผู้มีพระภาคทรงละความยินดีและความยินร้ายเสียแล้ว ทรง ล่วงเลยความดีใจและความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความพอใจและความพิโรธเสียแล้ว. พระผู้มี พระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่า สละแล้วอย่างไร? พระผู้มีพระภาคทรง สละ คาย ปล่อย ละ สละคืนราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มี พระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่า สละแล้ว อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่างไร? พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชา- *โอฆะ และคลองแห่งสงสารทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคนั้นทรงอยู่จบแล้ว ทรงประพฤติจรณะ แล้ว ดำเนินถึงทางไกลแล้ว ดำเนินถึงทิศแล้ว ดำเนินถึงที่สุดแล้ว ทรงรักษาพรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุอุดมทิฏฐิแล้ว เจริญมรรคแล้ว ละกิเลสแล้ว มีการแทงตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอัน ทำให้แจ้งแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรงละสมุทัย ทรงเจริญมรรค ทรงทำให้แจ่ม แจ้งซึ่งนิโรธ ทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ ทรงทำให้แจ่มแจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง. พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงถอนอวิชชาอันเป็นดุจลิ่มสลักออกแล้ว ทรงเรี่ยวรายกรรมอันเป็นดังคูเสียแล้ว ทรงถอน ตัณหาเป็นดังเสาระเนียดขึ้นแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก มีมานะเป็นดุจธงอันตกไปแล้ว ทรงปลงภาระเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเอกเครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๔ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งอันทรงบรรเทาเสียแล้ว มีการแสวงหาอันชอบไม่ย่อหย่อนอัน ประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุเป็น อย่างยิ่ง. พระผู้มีพระภาคนั้นมิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดดำรงอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วดำรงอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วดำรงอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ- *ทัศนขันธ์ เป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจแล้วดำรงอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วจึงดำรงอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะไม่ต้องไป ยึดถือเอายอดชัย แล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ใน ความซ่องเสพวิมุติ ดำรงอยู่ด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วย ความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะ อัน บริสุทธิ์ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ดำรงอยู่ในส่วนสุดรอบแห่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพอันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด. สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า พระผู้มีพระภาคนั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีอัตภาพนี้เป็นทีหลังมิได้มีชาติ มรณะและสงสาร ไม่มีภพใหม่. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าคงที่เพราะอรรถว่า ข้ามแล้ว อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่างไร? พระทัยของพระผู้มี พระภาคพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากราคะ โทสะ โมหะ. ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างไร? พระผู้มี พระภาคชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดง ออกว่า เป็นผู้มีวิริยะ ในเมื่อวิริยะมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีสมาธิ ในเมื่อสมาธิมีอยู่. ชื่อว่า เป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรง แสดงออกว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็นผู้มีพละ ๑๐ ในเมื่อพละมีอยู่. พระผู้มีพระภาคชื่อว่า เป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่.
ว่าด้วยวัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง
[๘๙๖] ชื่อว่า ผู้ไม่ทรงหลอกลวง ในคำว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ มีอธิบายว่า วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง คือ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่อง เสพปัจจัย ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วย การพูดเลียบเคียง ๑. วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน? พวกคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ภิกษุนั้นมีความ ปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. พูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก การที่ สมณะเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อหรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ เป็นการ สมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตมีค่ามาก การที่สมณะสำเร็จความเป็นอยู่ ด้วย ก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่ สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก การที่สมณะอยู่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้าหรืออยู่ที่แจ้ง เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก การที่สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่า หรือชิ้นลูกสมอ เป็นการสมควร ภิกษุนั้นอาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ เศร้าหมอง. พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่าสมณะนี้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ภิกษุนั้นก็กล่าวว่า เพราะประจวบด้วย เหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ก็ประสบบุญมาก คือ เพราะประจวบด้วยศรัทธา ๑ เพราะประ- *จวบด้วยไทยธรรม ๑ เพราะประจวบด้วยทักขิไณยบุคคล ๑ ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรม นี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก (ผู้ทักขิไณยบุคคล) ถ้าอาตมาจักไม่รับ ท่านทั้งหลายก็จักเสื่อม จากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ ก็แต่ว่าอาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์ท่าน ทั้งหลาย จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้นก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขารมาก. ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่าวัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย. วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชน จักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมี สมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ อาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์). การตั้งใจทำ การทำ การดำรงอิริยาบถ ความ ทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ. วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรม วินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรง จีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ ... ทรงภาชนะโลหะอย่างนี้ ... ทรง ธรรมกรกอย่างนี้ ... ทรงผ้ากรองน้ำอย่างนี้ ... ถือลูกกุญแจอย่างนี้ ... สวมรองเท้าอย่างนี้ ... ใช้ ประคดสำหรับคาดกายอย่างนี้ ... ใช้สายโยกบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก. พูดว่า สมณะ ใดมีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ ... มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ ... มีพวกร่วมอาจารย์ อย่างนี้ ... มีมิตรอย่างนี้ ... มีพวกอย่างนี้ ... มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ ... มีสหายอย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก. พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียวอย่าง นี้ ... อยู่ในปราสาทอย่างนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ ... อยู่ในถ้ำอย่างนี้ ... อยู่ในที่ เร้นอย่างนี้ ... อยู่ในกุฎีอย่างนี้ ... อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ ... อยู่ในซุ้มประตูอย่างนี้ ... อยู่ใน โรงกลมอย่างนี้ ... อยู่ในโรงที่พัก (ปะรำ) อย่างนี้ ... อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ ... อยู่ใน มณฑปอย่างนี้ ... อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วาง หน้าเฉยเมย ทำหน้ายู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง อันผู้อื่นสรรเสริญ ด้วยความ ที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมบัติอันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรม และนิพพาน อันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง. ความทำหน้า ยู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปาน นี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง. วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง.
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระคณาจารย์
[๘๙๗] คำว่า ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่า คณีเพราะ อรรถว่า มีคณะ. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นคณีพระอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์. ชื่อว่าเป็น คณีเพราะอรรถว่า เป็นพระศาสดาของคณะ ชื่อว่าเป็นคณีเพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหาร คณะ ชื่อว่าเป็นคณีเพราะอรรถว่า พระองค์ตรัสสอนคณะ. ชื่อว่าเป็นคณีเพราะอรรถว่า พระ องค์ทรงพร่ำสอนคณะ. ชื่อว่าเป็นคณีเพราะอรรถว่า พระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ ชื่อว่าเป็นคณีเพราะอรรถว่า คณะย่อมฟังด้วยดีต่อพระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อ ความรู้. ชื่อว่าเป็นคณีเพราะอรรถว่า พระองค์ยังคณะให้ออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่เฉพาะใน กุศล ชื่อว่าเป็นคณีของคณะภิกษุ. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะภิกษุณี. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะ อุบาสก. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะอุบาสิกา. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะพระราชา. ชื่อว่าเป็นคณีของ คณะกษัตริย์. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะพราหมณ์. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะแพศย์. ชื่อว่าเป็นคณี ของคณะศูทร. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะเทวดา. ชื่อว่าเป็นคณีของคณะพรหม. พระผู้มีพระภาค เป็นผู้มีหมู่ มีคณะเป็นพระคณาจารย์เสด็จมา เข้ามา เข้ามาพร้อม ถึงพร้อมแล้วซึ่งสังกัสส- *นคร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์. [๘๙๘] คำว่า ของคนหมู่มาก ในคำว่า ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้ ความว่า ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ เป็นอันมาก. คำว่า เนื่อง คือ เป็นผู้เนื่อง มีความประพฤติเนื่องกัน เป็นผู้บำรุง เป็นศิษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้. [๘๙๙] คำว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา ความว่า เราเป็นผู้มีความประสงค์ ด้วยปัญหามาแล้ว คือ เรามีความประสงค์เพื่อจะทูลถามปัญหามาแล้ว เรามีความประสงค์เพื่อ จะฟังปัญหามาแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา. อีก อย่างหนึ่ง ความมา ความก้าวไปเฉพาะ ความเข้าไปหา ความเข้าไปนั่งใกล้ พึงมีแก่ชน ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา ผู้ถามปัญหา ผู้ประสงค์เพื่อจะฟังปัญหา แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่างหนึ่ง อาคม (สูตร) แห่งปัญหาของพระองค์มีอยู่ พระองค์เป็นผู้สามารถจะตรัสถาม กล่าวแก้กับข้าพระองค์ ข้อนี้ จงเป็นภาระของพระองค์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ของคนหมู่ มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๔๔๗-๑๐๖๔๐ หน้าที่ ๔๓๙-๔๔๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10447&Z=10640&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=892&items=8              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=892&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=892&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=892&items=8              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=892              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]