ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๔. อินทริยสังยุต
สุทธิกวรรคที่ ๑
สุทธิกสูตร
อินทรีย์ ๕
[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
โสตาสูตรที่ ๑
รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง (ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม เป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๒
โสตาสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? ฯลฯ เมื่อใด แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก ... เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๓
อรหันตสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธิน- *ทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความ เป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพระอรหันต- *ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๔
อรหันตสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธิน- *ทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม ความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้น สังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๕
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ผู้ไม่รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ ไม่นับว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
[๘๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธิน- *ทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ก็สมณะหรือพราหมณ์พวก ใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความ เป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๘๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดซึ่งความเกิด ความ ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๖
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๘๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธิน- *ทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง สัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญิน- *ทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง ปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็น พราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๘๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง สัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับ แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความ เกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๗
ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ
[๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ [๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ใน โสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็น วิริยินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็น สตินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น สมาธินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕
[๘๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. [๘๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์. [๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์. [๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี สติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่ พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์. [๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ ซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์. [๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล
จบ สูตรที่ ๙
วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕
[๘๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์. [๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์. [๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูด แม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์. [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์. [๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข- *นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ นี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สุทธิกวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุทธิกสูตร ๒. โสตาสูตรที่ ๑ ๓. โสตาสูตรที่ ๒ ๔. อรหันตสูตรที่ ๑ ๕. อรหันตสูตรที่ ๒ ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๘. ทัฏฐัพพสูตร ๙. วิภังคสูตรที่ ๑ ๑๐. วิภังคสูตรที่ ๒.
-----------------------------------------------------
มุทุตวรรคที่ ๒
ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. [๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์. [๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์. [๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์. [๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็น อารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์. [๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
สังขิตตสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระ- *สกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ผู้ธัมมานุสารี.
จบ สูตรที่ ๒
สังขิตตสูตรที่ ๒
ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์
[๘๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระ- *สกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความ ต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล.
จบ สูตรที่ ๓
สังขิตตสูตรที่ ๓
อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
[๘๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ ... เป็นพระโสดาบัน ผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามา ฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญมรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย.
จบ สูตรที่ ๔
วิตถารสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตรา- *ปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบ สูตรที่ ๕
วิตถารสูตรที่ ๒
ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์
[๘๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ ... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุ- *สารี ดังพรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่ง บุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล.
จบ สูตรที่ ๖
วิตถารสูตรที่ ๓
อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
[๘๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ทั้ง ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระ- *อรหันต์ ... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญ มรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย.
จบ สูตรที่ ๗
ปฏิปันนสูตร
ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕
[๘๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสีย เลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.
จบ สูตรที่ ๘
อุปสมสูตร
ว่าด้วยผู้พร้อมด้วยอินทรีย์ ๕
[๘๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์อื่นๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าใดหนอ ภิกษุ จึงชื่อว่า เป็นผู้พร้อมด้วยอินทรีย์? [๘๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันให้ความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ดูกรภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์.
จบ สูตรที่ ๙
อาสวักขยสูตร
ผลของการปฏิบัติอินทรีย์ ๕
[๘๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๘๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ มุทุตวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฏิลาภสูตร ๒. สังขิตตสูตรที่ ๑ ๓. สังขิตตสูตรที่ ๒ ๔. สังขิตตสูตรที่ ๓ ๕. วิตถารสูตรที่ ๑ ๖. วิตถารสูตรที่ ๒ ๗. วิตถารสูตรที่ ๓ ๘. ปฏิปันนสูตร ๙. อุปสมสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร.
-----------------------------------------------------
ฉฬินทริยวรรคที่ ๓
ปุนัพภวสูตร
อินทรีย์ ๕
[๘๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. [๘๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตน ว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. [๘๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แล ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติ ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ ความเกิดอีกไม่มี.
จบ สูตรที่ ๑
ชีวิตินทริยสูตร
อินทรีย์ ๓
[๘๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒
อัญญาตาวินทริยสูตร
อินทรีย์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง
[๘๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ อนัญญา- *ตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๓
เอกาภิญญาสูตร
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. [๙๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตรา ปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระ- *อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบันผู้เอก พิชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบ สูตรที่ ๔
สุทธกสูตร
อินทรีย์ ๖
[๙๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๖ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๕
โสตาปันนสูตร
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน
[๙๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์. [๙๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวก นี้ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๖
อรหันตสูตรที่ ๑
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์
[๙๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์. [๙๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๗
อรหันตสูตรที่ ๒
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า
[๙๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์. [๙๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตน ว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. [๙๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละ ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกไม่มี.
จบ สูตรที่ ๘
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอินทรีย์ ๖
[๙๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์. [๙๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะหรือของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๙๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความ เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็น จริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๙
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖
[๙๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่ง จักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง จักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๙๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง จักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง จักขุนทรีย์ รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะ ท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ฉฬินทริยวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุนัพภวสูตร ๒. ชีวิตินทริยสูตร ๓. อัญญาตาวินทริยสูตร ๔. เอกาภิญญาสูตร ๕. สุทธกสูตร ๖. โสตาปันนสูตร ๗. อรหันตสูตรที่ ๑ ๘. อรหันตสูตรที่ ๒ ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๑๐. สมณพราหมณสูตรที่ ๒.
-----------------------------------------------------
สุขินทริยวรรคที่ ๔
สุทธกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๙๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
โสตาปันนสูตร
รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน
[๙๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๒
อรหันตสูตร
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๙๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้น แล้ว เพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๙๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความ เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็น จริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ใน หมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของ ความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๙๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความ เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็น จริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ใน พวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๔
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์
[๙๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่ง สุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง สุขินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์ ... โสมนัสสินทรีย์ ... โทมนัสสินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์ ความเกิด แห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๙๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง สุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง สุขินทรีย์ รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์ ... โทมนัสสินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความ ดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่าน เหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๕
วิภังคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕
[๙๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ความสำราญ ทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์. [๙๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ความไม่ สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์. [๙๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ความ สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. [๙๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ความไม่ สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์. [๙๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๖
วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข
[๙๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่า สุขินทรีย์. [๙๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์. [๙๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. [๙๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์. [๙๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์. [๙๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา. [๙๓๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา. [๙๓๙] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๗
วิภังคสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓
[๙๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่า สุขินทรีย์. [๙๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์. [๙๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. [๙๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์. [๙๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์. [๙๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา. [๙๔๗] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา. [๙๔๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์มี ๕ ประการนี้ เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓ เป็น ๓ แล้ว ขยายออกเป็น ๕ ก็ได้ โดย ปริยาย ด้วยประการดังนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
อรหันตสูตร
อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา
[๙๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์. [๙๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น แหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ สุขินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป. [๙๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป. [๙๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป. [๙๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป. [๙๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป. [๙๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน เกิด ไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสี ย่อม ดับสงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบาย กาย ก็รู้ชัดว่า เราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อม ดับไปสงบไป ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัส- *สินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้น เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๙
อุปปฏิกสูตร
อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
[๙๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑. [๙๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ ทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมี นิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอ ย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับแห่งทุกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดย ไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุ นี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น. [๙๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโทมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โทมนัส- *สินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโทมนัส- *สินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้า ทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์และน้อมจิตเข้าไปเพื่อ ความเป็นอย่างนั้น. [๙๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีความ เด็ดเดี่ยว สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์ นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า สุขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัด สุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง สุขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้า ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สุขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น. [๙๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ โสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โสมนัสสินทรีย์ นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่ จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข และละทุกข์ละสุขและดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้ แล้วซึ่งความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น. [๙๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ อุเปกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเปกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติ เป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่ มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดย ประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือ ในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความ เป็นอย่างนั้น.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สุขินทริยวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุทธกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร ๓. อรหันตสูตร ๔. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๖. วิภังคสูตรที่ ๑ ๗. วิภังคสูตรที่ ๒ ๘. วิภังคสูตรที่ ๓ ๙. อรหันตสูตร ๑๐. อุปปฏิกสูตร.
-----------------------------------------------------
ชราวรรคที่ ๕
ชราสูตร
ว่าด้วยความแก่
[๙๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใน บุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น แล้วประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ผิงแดดในที่มีแสงแดดส่องมาจากทิศประจิมอยู่ ครั้งนั้น ท่านพระ- *อานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว บีบนวดพระกาย ของพระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือพลางกราบทูลว่า [๙๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว เวลานี้พระฉวีวรรณของ พระผู้มีพระภาคไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน พระสรีระก็หย่อนย่นเป็นเกลียว พระกายก็ค้อม ไปข้างหน้า และความแปรปรวนของอินทรีย์ คือ พระจักษุ พระโสตะ พระฆานะ พระชิวหา พระกาย ก็ปรากฏอยู่. [๙๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ชราธรรมย่อมมีใน ความเป็นหนุ่มสาว พยาธิธรรมย่อมมีในความไม่มีโรค มรณธรรมย่อมมีในชีวิต ผิวพรรณไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน สรีระก็หย่อนย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไปข้างหน้า และความ แปรปรวนแห่งอินทรีย์ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ก็ปรากฏอยู่. [๙๖๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ถึงท่านจะติความแก่อันเลวทราม ถึงท่านจะติความแก่อันทำให้ผิวพรรณ ทรามไป รูปอันน่าพึงใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีอยู่นั่นเอง แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ ได้ร้อยปี (ผู้นั้นก็ไม่พ้นความตายไปได้) สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นเบื้อง- *หน้า ความตายย่อมไม่ละเว้นอะไรๆ ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว.
จบ สูตรที่ ๑
อุณณาภพราหมณสูตร
อินทรีย์ ๕ มีอารมณ์ต่างกัน
[๙๖๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า [๙๖๗] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่าง กัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และ อะไรย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้? [๙๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่าง กัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยว ของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกัน และกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้. [๙๖๙] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า? พ. ดูกรพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ. [๙๗๐] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า? พ. ดูกรพราหมณ์ วิมุติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ. [๙๗๑] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติเล่า? พ. ดูกรพราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ. อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งนิพพาน. พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่สุด แห่งปัญหาได้ ด้วยว่าพรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพาน เป็นที่สุด. [๙๗๒] ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. [๙๗๓] ครั้นอุณณาภพราหมณ์หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ- *ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า [๙๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอดหรือศาลาคล้ายเรือนยอด มีหน้าต่างในทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไป แสงส่องเข้าไปทางหน้าต่าง ตั้งอยู่ที่ฝาด้านไหน? ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า. พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาในพระตถาคตของอุณณาภพราหมณ์ มั่นคงแล้ว มีรากเกิดแล้ว ตั้งอยู่มั่นแล้ว อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจะพึงชักนำไปไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์ พึงทำกาละในสมัยนี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ซึ่ง เป็นเครื่องประกอบให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมายังโลกนี้อีก.
จบ สูตรที่ ๒
สาเกตสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
[๙๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่ นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อ ความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้. [๙๗๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัย แล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? [๙๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็น สัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็น สตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์. [๙๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่ง ไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่ง แม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่. [๙๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความ นับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว. [๙๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่ง ความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด. [๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใด เป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้น เป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้น เป็นปัญญินทรีย์. [๙๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๓
ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
[๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น แล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น ที่สุด. [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชน เหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึง ถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชน เหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่ง ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
จบ สูตรที่ ๔
ปุพพารามสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
[๙๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใน ปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัส ถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ [๙๘๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่ง อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อินทรีย์อย่างหนึ่งเป็นไฉน? คือปัญญินทรีย์. [๙๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของพระ- *อริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น. [๙๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่งนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๕
ปุพพารามสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอินทรีย์ ๒
[๙๙๑] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี? ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ [๙๙๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๒ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๙๙๓] อินทรีย์ ๒ ประการเป็นไฉน? คือ ปัญญาอันเป็นอริยะ ๑ วิมุติอันเป็น อริยะ ๑ ก็ปัญญาอันเป็นอริยะของภิกษุนั้น เป็นปัญญินทรีย์ วิมุติอันเป็นอริยะของภิกษุนั้น เป็น สมาธินทรีย์. [๙๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๒ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๖
ปุพพารามสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔
[๙๙๕] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี? ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ [๙๙๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้. [๙๙๗] อินทรีย์ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑. [๙๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๗
ปุพพารามสูตรที่ ๔
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๙๙๙] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี? ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ [๑๐๐๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๑๐๐๑] อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑. [๑๐๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๘
ปิณโฑลภารทวาชสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๓
[๑๐๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ได้พยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี. [๑๐๐๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ- *ผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๑๐๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เห็นอำนาจประโยชน์ อะไรหนอ จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๑๐๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัด ว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๑๐๐๗] อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑. [๑๐๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะจึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๑๐๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๓ ประการนี้ มีอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นเป็น ที่สุด มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเห็นว่า ความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะดังนี้แล จึงพยากรณ์อรหัตผล ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๙
สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก
[๑๐๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อริยสาวก ผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต. [๑๐๑๑] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด มีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต อริยสาวกนั้น ไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติเป็น เครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำพูดแม้นานได้. [๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้ เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต. [๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่ เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความ ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน. [๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวก นั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้น ตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. [๑๐๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของอริยสาวก เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล. [๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐๑๘] ดูกรสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. [๑๐๑๙] ดูกรสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มี ศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็น อารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต. [๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับ ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน. [๑๐๒๑] ดูกรสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้ว นั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. [๑๐๒๒] ดูกรสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ชราวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชราสูตร ๒. อุณณาภพราหมณสูตร ๓. สาเกตสูตร ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร ๕. ปุพพารามสูตรที่ ๑ ๖. ปุพพารามสูตรที่ ๒ ๗. ปุพพารามสูตรที่ ๓ ๘. ปุพพารามสูตรที่ ๔ ๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๑๐. สัทธาสูตร
-----------------------------------------------------
สูกรขาตวรรคที่ ๖
โกสลสูตร
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่ นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า. [๑๐๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าว ว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็น โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. [๑๐๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าว ว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑
มัลลกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔
[๑๐๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่ออุรุเวลกัปปะ ใน แคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า [๑๐๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้ง ลงมั่น. [๑๐๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อเขายังไม่ได้ยกยอดขึ้น เพียงใด กลอนเรือนก็ยังไม่ชื่อว่า ตั้งอยู่มั่นคง เพียงนั้น เมื่อใด เขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น กลอนเรือนจึงเรียกว่า ตั้งอยู่มั่นคง ฉันใด อริยญาณ ยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน อินทรีย์ ๔ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑. [๑๐๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของอริยสาวก ผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.
จบ สูตรที่ ๒
เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ
[๑๐๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ มีอยู่หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน. [๑๐๓๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสข ภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เรา เป็นพระอเสขะมีอยู่. [๑๐๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยาย แม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระเสขะ. [๑๐๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้ มีพระภาค มีอยู่หรือ? พระเสขะนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจาก ศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค ไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ. [๑๐๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ. [๑๐๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ. [๑๐๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มี เหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ.
จบ สูตรที่ ๓
ปทสูตร
บทธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้
[๑๐๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดินชนิดใดชนิด- *หนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของ รอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งบทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทแห่งธรรมทั้งหลายเป็นไฉน ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้? ได้แก่บทแห่งธรรม คือ สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.
จบ สูตรที่ ๔
สารสูตร
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งบทธรรม
[๑๐๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ชนิดใด ชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อม เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดของบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลก กล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรา กล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๐๕๖-๖๐๔๔ หน้าที่ ๒๑๑-๒๕๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5056&Z=6044&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=843&items=247              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=843&items=247&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=843&items=247              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=843&items=247              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=843              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]