ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             [๓๐] ภ. ดูกรพราหมณ์ แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ก่อนตรัสรู้ทีเดียว
ได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ
ที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่าจะชักพาใจ
ของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย.
             [๓๑] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ
ของตน คือ มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ. ส่วนเรามีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใด มีกายกรรม
บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็
เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในตน
จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
ทรงกำหนดรู้เสนาสนะ ๑๖
[๓๒] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ ... มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ ... มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอัน สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและ ความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ ส่วนเรามีอาชีวะไม่ บริสุทธิ์เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวหามิได้ เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใดมีอาชีวะบริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดา- *พระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ นี้ในตนจึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๓] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความอยากได้ มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ มีความอยากได้มากและมีราคะกล้าในกามทั้งหลายเป็นเหตุ ดูกรพราหมณ์ ส่วนเรามีความอยากได้มาก มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ไม่มีความอยากได้. พระอริยะเหล่าใด ไม่มีความอยากได้ เสพเสนาสนะ อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ไม่มีความอยากได้นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ ในป่า. [๓๔] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจชั่ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความมีจิตพยาบาทและมีความดำริในใจชั่วเป็นเหตุ. ส่วนเรามีจิตพยาบาท มีความ ดำริในใจชั่ว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีจิตประกอบ ด้วยเมตตา. พระอริยะเหล่าใด มีจิตประกอบด้วยเมตตา เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและ เป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ เป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง อันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมเป็นเหตุ. ส่วนเราอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ พระอริยะเหล่าใด ปราศจาก ถีนมิทธะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็ เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะนี้ในตน จึงถึงความเป็น ผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๖] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า หนึ่ง ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบ ระงับเป็นเหตุ. ดูกรพราหมณ์ ส่วนเราฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้จิตสงบ ระงับแล้ว. พระอริยะเหล่าใด มีจิตสงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็น ผู้มีจิตสงบระงับนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๗] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีความสงสัยเคลือบแคลง ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ มีความสงสัยและเคลือบแคลงเป็นเหตุ, ส่วนเรามีความสงสัยเคลือบแคลง เสพ- *เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ข้ามความเคลือบแคลงเสียแล้ว. พระอริยะเหล่าใด ข้ามความเคลือบแคลงเสียแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ เป็นผู้ข้ามความเคลือบแคลงนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๘] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความยกตนและข่มผู้อื่นเป็นเหตุ. ส่วนเรายกตน ข่มผู้อื่น. เสพเสนาสนะ อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. พระอริยะเหล่าใด เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๙] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดเป็นอันอกุศล เพราะโทษของตน คือ มีความหวาดหวั่นและมีชาติแห่งคนขลาดเป็นเหตุ. ส่วนเราเป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ปราศจาก ความหวาดกลัว. พระอริยะเหล่าใด ปราศจากความหวาดกลัว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่า และเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง ความเป็นผู้ปราศจากความหวาดกลัวนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๐] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ ความปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นเหตุ. ส่วนเราปรารถนา ลาภสักการะและความสรรเสริญ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เรา เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. พระอริยะเหล่าใด มีความปรารถนาน้อย เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็น ชัดซึ่งความเป็นผู้ปรารถนาน้อยนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๑] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่า และเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็น อกุศล เพราะโทษของตน คือความเป็นผู้เกียจคร้านและมีความเพียรเลวทรามเป็นเหตุ. ส่วนเรา เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระอริยะเหล่าใด ปรารภความเพียร เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้ปรารภความเพียรนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๒] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงและไม่มีสัมปชัญญะเป็นเหตุ. ส่วนเรามีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีสติตั้งมั่น. พระอริยะ เหล่าใดมีสติตั้งมั่น เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้ มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๓] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นและมีจิตหมุนไปผิดเป็นเหตุ. ส่วนเรามีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต หมุนไปผิด เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความพร้อมด้วยสมาธิ นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๔] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญาทราม เป็นใบ้ ย่อมเสพเสนาสนะ ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ ความ เป็นผู้มีปัญญาทรามและเป็นใบ้เป็นเหตุ ส่วนเรามีปัญญาทราม เป็นใบ้ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวหามิได้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อม ด้วยปัญญาเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็ เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความถึงพร้อมด้วยปัญญานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้ มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
จบปริยาย ๑๖
[๔๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่ กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ โดยสมัยอื่น เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูกร พราหมณ์ ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมาก็ดี หรือว่าลมพัด ใบไม้ให้ตกลงมาก็ดี. ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ความกลัวและความขลาดนั่น นั้นมาเป็นแน่. เรานั้นได้มีความดำริว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้หวังภัยอยู่โดยแท้ ไฉนหนอ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไรๆ เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้นๆ แล พึง กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นเสีย ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้กำลังเดินจงกรมอยู่. เรานั้น จะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบที่เรายังเดินจงกรมอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด นั้นได้. ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่เดิน จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบเท่าที่เรายังยืนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้. ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนั่งอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้. ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่ นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด นั้นได้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๓๘-๖๗๗ หน้าที่ ๒๓-๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=538&Z=677&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=30&items=16              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=30&items=16&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=12&item=30&items=16              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=12&item=30&items=16              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=30              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]