ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
วิเคราะห์ปาราชิก
[๑๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาราชิกดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ปาราชิก.
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
[๑๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าสังฆาทิเสสดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะ กล่าวต่อไป. สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.
วิเคราะห์อนิยต
[๑๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บทอันพระผู้มีพระภาคทรง ทำแล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าอนิยต.
วิเคราะห์ถุลลัจจัย
[๑๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าถุลลัจจัยดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว. ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัยในที่ใกล้ภิกษุรูปหนึ่ง และภิกษุรับอาบัตินั้น โทษเสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มีเพราะเหตุนั้น จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.
วิเคราะห์นิสสัคคิยะ
[๑๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่านิสสัคคิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ และต่อหน้าภิกษุ รูปหนึ่งๆ แล้วจึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึงเรียกข้อละเมิดนั้น ว่านิสสัคคิยะ
วิเคราะห์ปาจิตตีย์
[๑๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาจิตตีย์ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อมฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุ แห่งความลุ่มหลงแห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์.
วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
[๑๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาฏิเทสนียะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะ- กล่าวต่อไป. ภิกษุไม่มีญาติหาโภชนะได้ยากรับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ในที่นั้นตาม พอใจ ภิกษุไม่ห้ามฉันอยู่ในที่นั้น เรียกว่าต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุไม่ อาพาธไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย เขามิได้นำไปถวาย แล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่าที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหารที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่าต้อง ธรรมที่น่าติ. ภิกษุณีไม่มีญาติขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติในศาสนาของพระสุคต.
วิเคราะห์ทุกกฏ
[๑๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่าทำไม่ดี คนทำความชั่ว อันใดในที่แจ้งหรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่วเพราะเหตุนั้น กรรมนั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.
วิเคราะห์ทุพภาสิต
[๑๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าทุพภาสิตดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดีพูดไม่ดีและเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติเตียนบทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า ทุพภาสิต.
วิเคราะห์เสขิยะ
[๑๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าเสขิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว ต่อไป. ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทางและเป็นข้อระวัง คือสำรวม ของพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขาทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น สิกขานั้นจึงเรียกว่า เสขิยะ.
อุปมาอาบัติและอนาบัติ
เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ย่อมรั่ว เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้ เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อมไม่รั่ว. ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย นิพพาน เป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์.
คาถาสังคณิกะ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำเรื่อง
[๑๐๔๕] สิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร ๑ วิบัติ ๔ อย่าง ๑ สิกขาบทของภิกษุและของภิกษุณีทั่วไป ๑ ไม่ทั่วไป ๑ นี้เป็นถ้อยคำที่รวม ไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๘๙๕๖-๙๐๒๐ หน้าที่ ๓๔๓-๓๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=8956&Z=9020&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=91              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1035              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1035-1045] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1035&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- [1035-1045] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1035&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/brahmali#pli-tv-pvr10:63.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/horner-brahmali#BD.6.241

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :