ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน
[๒๕๖] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจา ควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถี ได้ ชักชวนชาวบ้านระหว่างทางว่า ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม จงช่วยกัน สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว อนึ่ง พระ- *องค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จมาโดยทางนี้ ครั้งนั้น ชาวบ้านเหล่านั้น ที่อนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ต่างพากันสร้างอาราม สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน แล้ว ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เที่ยวตรวจดูพระนคร สาวัตถีโดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคควรจะประทับอยู่ที่ไหนดีหนอ ซึ่งเป็นสถานที่ ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มีคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความ ประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร ซึ่งเป็นสถานไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน มีการคมนาคมสะดวก ชาวบ้าน บรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียง อึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของ มนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้นแล้ว จึงเข้าเฝ้าเชตราชกุมาร กราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงประทานพระอุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระ- *อาราม พระเจ้าข้า เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า ท่านคหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้องซื้อด้วย ลาดทรัพย์เป็นโกฏิ อ. อาราม พระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้าข้า ช. อาราม ฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคหบดี เจ้าชายกับคหบดี ได้ถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาความว่า เป็นอันตกลงขาย หรือไม่ตกลงขาย มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาตอบว่า เมื่อพระองค์ตีราคาแล้ว อาราม เป็นอันตกลงขาย จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียงลาด ริมจดกัน ณ อารามเชตวัน เงินที่ขนออกมาคราวเดียว ยังไม่พอแก่โอกาสหน่อย หนึ่งใกล้ซุ้มประตู จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งคนทั้งหลายว่า พนาย พวกเธอจง ไปขนเงินมาเรียงในโอกาสนี้ ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารทรงพระรำพึงว่า ที่อันน้อย นี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คหบดีนี้บริจาคเงินมากเพียงนั้น จึงเจ้าเชตราชกุมารตรัสกะ อนาถบิณฑิกคหบดีว่า พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ลาดโอกาสนี้เลย ท่าน จงให้โอกาสนี้แก่ฉัน ที่ว่างนี้ฉันจักยกให้ ดังนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีใคร่ครวญว่า เจ้าเชตราชกุมารนี้ ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก อันความเลื่อมใสในพระธรรม- *วินัยนี้ ของคนที่มีคนรู้จักมากเห็นปานนี้ ยิ่งใหญ่นักแล จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่ เจ้าเชตราชกุมาร เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งให้สร้างซุ้มประตูลงในที่ว่างนั้น ส่วน อนาถบิณฑิกคหบดีได้ให้สร้างวิหารหลายหลัง ไว้ในพระเชตวัน สร้างบริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจจกุฎี สร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระโบกขรณี สร้างมณฑป ฯ [๒๕๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระ- *พุทธาภิรมย์ แล้วได้เสด็จจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึง พระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขต- *พระนครเวสาลีนั้น ฯ [๒๕๘] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านตั้งใจทำการก่อสร้าง แลอุปัฏฐากภิกษุผู้ อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น ปัจจัยของภิกษุอาพาธ โดยเคารพ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๐๙๔-๒๑๔๐ หน้าที่ ๘๗-๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2094&Z=2140&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=32              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=241              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [256-258] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=256&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7362              The Pali Tipitaka in Roman :- [256-258] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=256&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7362              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.3.11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :