ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ
[๑๘๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันอุโบสถ. เธอได้มีความปริวิตก ในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เรา เป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผม แสดงคืนอาบัตินั้น. ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ? ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น. ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๓.

สงสัยในอาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า แน่ะเธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็น ปัจจัย.
แสดงสภาคาบัติไม่ตก
[๑๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์แสดงสภาคาบัติ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงแสดงสภาคาบัติ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ภิกษุฉัพพัคคีย์รับแสดงสภาคาบัติ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับ แสดงสภาคาบัติ รูปใดรับแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ.
ระลึกอาบัติได้เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์
[๑๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ ระลึกอาบัติได้ จึง ภิกษุนั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงทำอุโบสถ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์อยู่ ภิกษุในศาสนานี้ระลึกอาบัติได้. ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุ ใกล้เคียงอย่างนี้ว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ลุกจากที่นี้แล้วจักทำคืนอาบัตินั้น ครั้นแล้วพึง ทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่ระลึกอาบัติได้นั้นเป็นปัจจัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์อยู่ ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ. ภิกษุนั้นพึงบอกกะภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมด สงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้น เมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำ อันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๔.

สงฆ์ต้องสภาคาบัติ
[๑๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติ ไม่ได้ จะรับแสดงสภาคาบัติไม่ได้ ดังนี้ ก็สงฆ์หมู่นี้ ล้วนต้องสภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึง ปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ ต้องสภาคาบัติ. ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียง พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโส เธอจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัติในสำนักเธอ ถ้าได้ ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติ เห็นภิกษุรูปอื่น ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่ต้องสภาคาบัตินั้นเป็นปัจจัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้มีความ สงสัยในสภาคาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความสงสัยในสภาคาบัติ หมดความ สงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้น เมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ แต่ไม่พึง ทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์ในศาสนานี้จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง เป็นผู้ต้อง สภาคาบัติ. ภิกษุเหล่านั้นส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโส เธอจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักเธอ. ถ้าได้ภิกษุ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๕.

เช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปชั่วระยะกาล ๗ วัน ด้วยสั่งว่า อาวุโส เธอจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอ. [๑๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ทั้งหมด ต้องสภาคาบัติ. สงฆ์ หมู่นั้นไม่รู้จักชื่อ ไม่รู้จักโคตรของอาบัตินั้น. มีภิกษุรูปอื่นมาในอาวาสนั้น เธอเป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา ละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา. ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุนั้น แล้วได้เรียนถามข้อความนี้กะภิกษุนั้นว่า ภิกษุ- *รูปใด ทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่ออะไร ขอรับ? พระพหูสูตตอบอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปใด ทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ- *ชื่อนี้ ขอรับ ท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย. ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า มิใช่ผมแต่ผู้เดียวที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ สงฆ์หมู่นี้ล้วนต้อง อาบัตินี้ทั้งนั้น. พระพหูสูตกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่นที่ต้องอาบัติแล้ว หรือมิได้ต้อง จักช่วยอะไร- *ท่านได้ ขอรับ นิมนต์ท่านออกจากอาบัติของตนเสียเถิด ขอรับ. จึงภิกษุนั้นได้ทำคืนอาบัตินั้นตามคำของพระพหูสูต แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้ว ได้แจ้งความข้อนี้กะภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ทราบมาว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่อนี้ พวกท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอรับ จงทำคืนอาบัติ- *นั้นเสีย. แต่ภิกษุเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของพระผู้บอก. ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ต้องสภาคาบัติ. สงฆ์หมู่นั้นไม่รู้จักชื่อ ไม่รู้จักโคตร ของอาบัตินั้น. มีภิกษุรูปอื่นมาในอาวาสนั้น เธอเป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา ละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา. ภิกษุ- *รูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุนั้น แล้วได้เรียนถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่ออะไรขอรับ? พระพหูสูตตอบอย่างนี้ ว่าภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ ชื่อนี้ ขอรับ ท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๖.

ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า มิใช่ผมแต่ผู้เดียวที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ สงฆ์หมู่นี้ล้วนต้อง อาบัตินี้ทั้งนั้น. พระพหูสูตกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่นที่ต้องอาบัติแล้วหรือมิได้ต้อง จักช่วยอะไรท่านได้ ขอรับ นิมนต์ท่านออกจากอาบัติของตนเสียเถิด ขอรับ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของพระพหูสูต แล้วเข้าไปหา ภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วบอกภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ทราบมาว่า ภิกษุรูปใด ทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่อนี้ พวกท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอรับ จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย. ถ้าภิกษุเหล่านั้น จะพึงทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของภิกษุผู้บอก ทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าจะไม่พึงทำคืน ภิกษุนั้นไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุ เหล่านั้น.
โจทนาวัตถุภาณวาร จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๙๓๗-๕๐๓๓ หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=4937&Z=5033&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=63              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=186              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [186-190] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=186&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3187              The Pali Tipitaka in Roman :- [186-190] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=186&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3187              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic27 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:27.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.27

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :