ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
นวกนิเทศ
[๑๐๒๐] ในนวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน อาฆาตวัตถุ ๙ คือ ๑. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย แก่เราแล้ว ๒. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่เรา ๓. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย แก่เรา ๔. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย แก่คนเป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว ๕. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๖. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว ๗. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำประโยชน์แก่ คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว ๘. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คน ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๙ [๑๐๒๑] ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน ปุริสมละ ๙ คือ ๑. โกธะ ความโกรธ ๒. มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ๓. อิสสา ความริษยา ๔. มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕. มายา ความเจ้าเล่ห์ ๖. สาเถยยะ ความโอ้อวด ๗. มุสาวาท พูดเท็จ ๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก ๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เหล่านี้เรียกว่า ปุริสมละ ๙ [๑๐๒๒] มานะ ๙ เป็นไฉน มานะ ๙ คือ ๑. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ๒. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ๓. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ๔. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ๕. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ๖. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ๗. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ๘. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ๙. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๙ [๑๐๒๓] ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ ๑. เพราะอาศัยตัณหา จึงเกิดการแสวงหา ๒. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดการได้ ๓. เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการวินิจฉัย ๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย จึงเกิดฉันทราคะ ๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความยึดถือ ๖. เพราะอาศัยความยึดถือ จึงเกิดการหวงแหน ๗. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงเกิดความตระหนี่ ๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดการรักษา ๙. เพราะอาศัยการรักษา จึงเกิดบาปอกุศลธรรม หลายประการ คือ การจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การเกี่ยงแย้ง การวิวาท การพูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ เหล่านี้เรียกว่า ตัณหามูลกธรรม ๙ [๑๐๒๔] อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน อิญชิตะ ๙ คือ ๑. ความหวั่นไหวว่า มีเรา ๒. ความหวั่นไหวว่า เป็นเรา ๓. ความหวั่นไหวว่า นี้เป็นเรา ๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี ๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป ๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา ๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ ไม่ใช่ เหล่านี้เรียกว่า อิญชิตะ ๙ [๑๐๒๕] มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙ เป็นไฉน สังขตะ ๙ คือ ๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี ๒. ความปรุงแต่งว่า เป็นเรา ๓. ความปรุงแต่งว่า นี้เป็นเรา ๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี ๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป ๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา ๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ ไม่ใช่ เหล่านี้เรียกว่า สังขตะ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๔๒๑-๑๓๕๐๖ หน้าที่ ๕๗๖-๕๗๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13421&Z=13506&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=74              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1020              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1020-1025] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=1020&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13061              The Pali Tipitaka in Roman :- [1020-1025] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=1020&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13061              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s960

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :