ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
ธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕
ว่าด้วยพระประวัติพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า
[๑๖] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้มียศมากพระนามว่าธรรมทัสสี ทรงกำจัดความมืดตื้อแล้ว ทรงรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ในโลกพร้อมทั้งเทว โลก แม้ในความที่พระองค์ผู้มีเดชไม่มีเทียบนั้นทรงประกาศ พระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในคราว เมื่อพระพุทธธรรมทัสสีทรงแนะนำสญชัยฤาษี ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ ในคราวเมื่อท้าวสักกะพร้อมด้วยบริษัท เสด็จเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปด สิบโกฏิ แม้พระบรมศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุ ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อ พระพุทธธรรมทัสสีทรงจำพรรษา ณ สมณนคร พระภิกษุขีณาสพ มาประชุมกันพันโกฏิ ครั้งที่ ๒ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลก มายังมนุษยโลก แม้ครั้งนั้น พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๓ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ ครั้งนั้นพระภิกษุ- ขีณาสพมาประชุมกันแปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นท้าวปุรินททสักก- เทวราช ได้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยของหอม มาลาและ ดนตรีทิพย์ แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ก็ ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า ในพันร้อยแปดกัป ผู้นี้จักได้เป็น พระพุทธเจ้า ...... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์ แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญ บารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้นไป พระนครชื่อว่าสรณะ พระบรม- กษัตริย์พระนามว่าสรณะ เป็นพระชนกของพระธรรมทัสสีศาสดา พระนางสุนันทา เป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคาร สถานอยู่แปดพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และสุทัสนะ มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่น ล้วน ประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวิจิโกลี พระราชโอรส พระนามว่าปุญญวัฑฒนะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึง เสด็จออกผนวชด้วยปราสาท ได้ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระธรรม ทัสสีนราสภมหาวีรเจ้า ผู้สูงสุดกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนา แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน พระองค์มีพระปทุม เถระและพระปุสสเทวเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า สุทัตตะ เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระเขมาเถรีและพระสัจจนามาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าติมพชาละ (มะพลับ) สุภัททอุบาสกและกฏิสสหอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก สาฬิสาอุบาสิกาและกฬิสสาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา แม้ พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้นสูง ๘๐ ศอก ทรงมี พระเดชรุ่งเรืองอย่างยิ่ง แผ่ไปในหมื่นธาตุ พระองค์งามสง่า ดัง พญารังมีดอกบาน เหมือนสายฟ้าในอากาศ ดุจพระอาทิตย์ในเวลา เที่ยง ฉะนั้น แม้พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ มีพระเดชไม่มีเทียบเคียง ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่สม่ำเสมออยู่ในโลกแสนปี ทรงแสดง พระรัศมีสว่างไสว ทำพระศาสนาให้ปราศจากมลทิน เสด็จนิพพาน พร้อมกับพระสาวก ดังพระจันทร์ลับไปในท้องฟ้า ฉะนั้น พระธรรม ทัสสีมหาวีรเจ้าเสด็จนิพพาน ณ เกสาราม พระสถูปอันประเสริฐ ของพระองค์ สูง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล.
จบธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๙๙๙-๘๐๔๔ หน้าที่ ๓๔๒-๓๔๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=7999&Z=8044&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=33&siri=207              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=196              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [196] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=196&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=7046              The Pali Tipitaka in Roman :- [196] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=196&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=7046              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :