ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๓. โลกสูตร
[๒๙๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสรู้โลกแล้ว พรากแล้วจากโลก ตรัสรู้เหตุ เกิดโลกแล้ว ละเหตุเกิดโลกได้แล้ว ตรัสรู้ความดับแห่งโลกแล้ว ทำให้แจ้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๙.

ความดับโลกแล้ว ตรัสรู้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว เจริญปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เห็น แล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้ว ด้วยใจ เพราะสิ่งนั้นพระตถาคตตรัสรู้แล้ว ฉะนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่าพระตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดง ซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้ พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า พระตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุดังนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า พระตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทรงครอบงำโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ ทรงเห็นโดยถ่องแท้ ยังอำนาจให้เป็นไป เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า พระตถาคต ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้โลกทั้งหมด ในโลกทั้งปวงด้วยพระปัญญา อันยิ่ง ตามความเป็นจริง ทรงพรากแล้วจากโลกทั้งหมด ไม่มี ผู้เปรียบในโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ ทรงครอบงำมาร ทั้งหมด สังขารทั้งหมด ทรงปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ ทั้งหมด ความสงบอย่างยวดยิ่ง คือ นิพพาน ซึ่งไม่มีภัยแต่ ไหนๆ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงถูกต้องแล้ว พระพุทธเจ้า พระองค์นี้ทรงมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ทรงมีทุกข์ ทรงตัดความ สงสัยได้แล้ว ทรงถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งหมด ทรง น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ พระผู้มีพระภาค

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๐.

พระองค์นั้น ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ชื่อว่าเป็นสีหะผู้ยอดเยี่ยม ทรงประกาศพรหมจักรแก่ โลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุดังนั้น เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะย่อมมาประชุมกันน้อม นมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระคุณใหญ่ ผู้ปราศจาก ความครั่นคร้าม บรรดาบุคคลผู้ฝึกหัดอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ทรง ฝึกแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด บรรดาบุคคลผู้สงบอยู่ พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณ ผู้สงบแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด บรรดาบุคคลผู้พ้นอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงพ้นแล้วเป็นผู้เลิศ บรรดาบุคคลผู้ข้ามอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงข้ามพ้นแล้ว เป็นผู้ ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นแล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อม นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ผู้มีพระคุณใหญ่ ผู้ปราศจาก ความครั่นคร้ามด้วยคิดว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยพระองค์ย่อม ไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
จบจตุกกนิบาต
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พราหมณสูตร ๒. จัตตาริสูตร ๓. ชานสูตร ๔. สมณสูตร ๕. ศีลสูตร ๖. ตัณหาสูตร ๗. พรหมสูตร ๘. พหุการสูตร ๙. กุหนาสูตร ๑๐. ปุริสสูตร ๑๑. จรสูตร ๑๒. สัมปันนสูตร ๑๓. โลกสูตร ฯ
จบอิติวุตตกะ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๑.

อุรควรรคที่ ๑
อุรคสูตรที่ ๑
[๒๙๔] ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว เหมือน หมอกำจัดพิษงูที่ซ่านไปแล้วด้วยโอสถ ฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อ ว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดตัดราคะได้ขาด พร้อมทั้ง อนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลลงไปตัดดอกปทุมซึ่ง งอกขึ้นในสระฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดยังตัณหาให้เหือดแห้งไปทีละน้อยๆ แล้วตัดเสีย ให้ขาดโดยไม่เหลือ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดถอนมานะพร้อมทั้งอนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนห้วง น้ำใหญ่ถอนสะพานไม้อ้อที่ทุรพลฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่ คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใดค้นคว้าอยู่ (ด้วยปัญญา) ไม่ ประสบอัตภาพอันเป็นสาระในภพทั้งหลาย เหมือนพราหมณ์ ค้นคว้าอยู่ ไม่ประสบดอกที่ต้นมะเดื่อฉะนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น กิเลสเป็นเครื่องให้กำเริบ ย่อมไม่มีภายในจิตของภิกษุใด และภิกษุใดล่วงเสียได้แล้ว ซึ่งความเจริญและความเสื่อมอย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละ ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า แล้วฉะนั้น ภิกษุใดกำจัดวิตกได้แล้ว ปราบปรามดีแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๒.

ในภายใน ไม่มีส่วนเหลือ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ ล่วงกิเลสเป็นเครื่อง ให้เนิ่นช้านี้ได้หมดแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและ ฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่าธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละ ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า แล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ปราศจากความโลภ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุ ใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากราคะ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุ นั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติ มีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโทสะ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละ ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า แล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนี้ เป็นของแปรผัน ปราศจากโมหะ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้า อยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น ภิกษุใด ไม่มีอนุสัยอะไรๆ ถอนอกุศลมูลได้แล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๓.

คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ความ กระวนกระวายอะไรๆ อันเป็นปัจจัยเพื่อมาสู่ฝั่งใน ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ตัณหา ดุจป่าอะไรๆ อันเป็นเหตุเพื่อความผูกพัน เพื่อความเกิด ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ภิกษุใดละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ไม่มีทุกข์ ข้ามความสงสัยได้แล้ว มีลูกศรปราศไปแล้ว ภิกษุ นั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น ฯ
จบอุรคสูตรที่ ๑
ธนิยสูตรที่ ๒
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า [๒๙๕] เรามีข้าวสำเร็จแล้ว มีน้ำนมรีด (จากแม่โค) รองไว้แล้ว มีการอยู่กับชนผู้เป็นบริวารผู้มีความประพฤติอนุกูลเสมอกัน ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เรามุงบังกระท่อมแล้ว ก่อไฟไว้แล้ว แน่ะฝน หากว่าท่านย่อมปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า เราเป็นผู้ไม่โกรธ มีกิเลสดุจหลักตอปราศไปแล้ว เรามีการ อยู่สิ้นราตรีหนึ่งที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี กระท่อมมีหลังคาอัน เปิดแล้ว ไฟดับแล้ว แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ ตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า เหลือบและยุงย่อมไม่มี โคทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในประเทศ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๔.

ใกล้แม่น้ำซึ่งมีหญ้างอกขึ้นแล้ว พึงอดทนแม้ซึ่งฝนที่ตกลงมา ได้ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า ก็เราผูกแพไว้แล้ว ตกแต่งดีแล้ว กำจัดโอฆะ ข้ามถึงฝั่งแล้ว ความต้องการด้วยแพย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนา ก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า ภริยาเชื่อฟังเรา ไม่โลเล เป็นที่พอใจ อยู่ร่วมกันสิ้น กาลนาน เราไม่ได้ยินความชั่วอะไรๆ ของภริยานั้น แน่ะฝน หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า จิตเชื่อฟังเรา หลุดพ้นแล้ว เราอบรมแล้ว ฝึกหัดดีแล้วสิ้น กาลนาน และความชั่วของเราย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า เราเป็นผู้เลี้ยงตนด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่มและบุตรทั้งหลาย ของเราดำรงอยู่ดี ไม่มีโรค เราไม่ได้ยินความชั่วอะไรๆ ของ บุตรเหล่านั้น แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า เราไม่เป็นลูกจ้างของใครๆ เราเที่ยวไปด้วยความเป็น พระสัพพัญญูผู้ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง เราไม่มี ความต้องการค่าจ้าง แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ ตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคผู้ปรารถนาประเวณีมีอยู่ อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๕.

แห่งโคก็มีอยู่ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลง มาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคที่ปรารถนาประเวณีก็ไม่มี อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูง แห่งโคก็ไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตก ลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า เสาเป็นที่ผูกโคเราฝังไว้แล้ว ไม่หวั่นไหว เชือกสำหรับผูก พิเศษประกอบด้วยปมและบ่วงเราทำไว้แล้ว สำเร็จด้วย หญ้ามุงกระต่ายเป็นของใหม่มีสัณฐานดีสำหรับผูกโคทั้งหลาย แม้โคหนุ่มๆ ก็ไม่อาจจะให้ขาดได้เลย แน่ะฝน หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า เราจักไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก เหมือนโคตัดเชือก สำหรับผูกขาดแล้ว เหมือนช้างทำลายเถากระพังโหมได้แล้ว ฉะนั้น แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ ฝนได้ตกเต็มทั้งที่ลุ่ม ทั้งที่ดอน ในขณะนั้นเอง นายธนิยะ คนเลี้ยงโคได้ยินเสียงฝนตกอยู่ ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็น พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถึง พระองค์ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหามุนี ขอ พระองค์ทรงเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ทั้งภริยาทั้ง ข้าพระองค์เป็นผู้เชื่อฟัง ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ข้าพระองค์เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะจะเป็นผู้กระทำซึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๖.

ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ มารผู้มีบาปได้กล่าวคาถาว่า คนย่อมเพลิดเพลินเพราะอุปธิทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุคคลผู้มีบุตร ย่อมเพลิดเพลินเพราะบุตร บุคคลมีโค ย่อมเพลิดเพลินเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่ เพลิดเพลินเลย ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคล ผู้มีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร บุคคลผู้มีโค ย่อม เศร้าโศกเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่ เศร้าโศกเลย ฯ
จบธนิยสูตรที่ ๒
ขัคควิสาณสูตรที่ ๓
[๒๙๖] บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดา สัตว์เหล่านั้นแม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอัน เกิดแต่ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยัง ประโยชน์ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใย ในบุตรและภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวก่ายกัน ฉะนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๗.

บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไป หากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความ ประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยวย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความ ประพฤติตามความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การเล่น การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย อนึ่ง ความรัก ที่ยิ่งใหญ่ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชังความ พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย ในทิศทั้งสี่และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำเสียซึ่งอันตราย ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก ก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์ ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น นักปราชญ์ละเหตุ อันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปรกติ อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย ทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๘.

ไปร่วมกันได้ มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้นอัน พระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงเที่ยวอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ฉะนั้น เราย่อมสรรเสริญ สหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้ เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลแลดู กำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้ สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การที่เราจะพึงพูดจากับ พระกุมารที่สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย พึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ผี อุปัทวะ โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงเป็นผู้ เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ผู้เกิด ในตระกูลปทุม มีศีลขันธ์เกิดขึ้นแล้ว ละโขลงอยู่ในป่าตาม อภิรมย์ ฉะนั้น (พระปัจเจกพุทธเจ้าได้กล่าวกึ่งคาถาว่า)

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๙.

บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ- อาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (พระกุมารได้กล่าวกึ่งคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจ พันธุกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น เราล่วงพ้นทิฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว ถึง ความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อัน ผู้อื่นไม่พึงแนะนำพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามกไม่พึงเสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรม อันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตร ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ บุคคลรู้จักประโยชน์ ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง การประดับ มีปรกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่ ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้ มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๐.

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงทำลาย สังโยชน์ทั้งหลายเสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟ ไม่หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า มี อินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรด แล้ว และอันไฟ คือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออก บวชเป็นบรรพชิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปรกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มี จิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทา อุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความ เยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้ ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่ เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปรกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษใน ภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๑.

บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนด รู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความ ไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่ ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ เหมือน ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็นผู้เที่ยวไป ผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตา วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติ ในกาล อันควร ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ย่อมคบหาสมาคม เพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุมาเป็นมิตร หาได้ยาก ในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ฯ
จบขัคควิสาณสูตรที่ ๓
กสิภารทวาชสูตรที่ ๔
[๒๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อเอกนาฬา ในทักขิณาคิรีชนบท แคว้นมคธ ก็สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ประกอบ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๒.

ไถประมาณ ๕๐๐ ในเวลาเป็นที่หว่านพืช ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่การงานของกสิภารทวาช พราหมณ์ ก็สมัยนั้นแล การเลี้ยงดูของกสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเป็นไป ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู ครั้นแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่ เพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้า- *พระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค แม้พระองค์ ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วจงบริโภคเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ฯ กสิ. ข้าแต่พระสมณะ ก็ข้าพระองค์ย่อมไม่เห็นแอก ไถ ผาล ปฏัก หรือโค ของท่านพระโคดมเลย ก็แลเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ ว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ฯ ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๒๙๘] พระองค์ย่อมปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพระองค์ไม่เห็น ไถของพระองค์ พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอได้ โปรดตรัสบอกไถแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึง รู้จักไถของพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยม ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๓.

ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ [๒๙๙] ลำดับนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสลงในถาด สำริดใหญ่ แล้วน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยกราบทูลว่า ขอท่านพระโคดม เสวยข้าวปายาสเถิด เพราะพระองค์ท่านเป็นชาวนา ย่อมไถนา อันมีผล ไม่ตาย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ดูกรพราหมณ์ เราไม่ควรบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา ข้อนี้ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เห็นอยู่โดยชอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงห้ามโภชนะที่ขับกล่อมได้มา ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ การแสวงหานี้เป็นความ ประพฤติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เชิญท่านบำรุงพระขีณาสพ ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มีความ คะนองอันสงบแล้ว ด้วยข้าวและน้ำอย่างอื่นเถิด เพราะว่า เขตนั้นเป็นเขตของบุคคลผู้มุ่งบุญ ฯ [๓๐๐] กสิ. ข้าแต่พระโคดม ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จะถวาย ข้าวปายาสนี้แก่ใคร ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ผู้บริโภคข้าว ปายาสนั้นแล้ว จะพึงให้ย่อยได้โดยชอบ นอกจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต เลย ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งข้าวปายาสนั้นเสียในที่ปราศจากของ เขียว หรือจงให้จมลงในน้ำซึ่งไม่มีตัวสัตว์เถิด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๔.

ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสนั้นให้จมลงในน้ำอันไม่มี ตัวสัตว์ พอข้าวปายาสนั้นอันกสิภารทวาชพราหมณ์เทลงในน้ำ (ก็มีเสียง) ดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลุ้มโดยรอบ เหมือนก้อนเหล็กที่บุคคลเผาให้ร้อน ตลอดวัน ทิ้งลงในน้ำ (มีเสียง) ดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลุ้มโดยรอบ ฉะนั้น ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๗๘๐-๗๑๕๘ หน้าที่ ๒๙๘-๓๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6780&Z=7158&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=227              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=293              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [293-300] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=293&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=9118              The Pali Tipitaka in Roman :- [293-300] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=293&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=9118              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.100-112.than.html#iti-112 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.106-112x.irel.html#iti-112 https://suttacentral.net/iti112/en/ireland https://suttacentral.net/iti112/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :