ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๔. สมณสูตร
[๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อม ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราหายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่ สมณะหรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้แจ้ง ซึ่งผล คือ ความเป็นสมณะและผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล เรายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและยก ย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือความเป็นสมณะ และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ สมณพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง และไม่รู้ชัดซึ่งมรรคอันให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ สมณ- พราหมณ์เหล่านั้น เสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและจากปัญญาวิมุติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น แล เป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง และรู้ชัดซึ่งมรรคอันให้ถึง ความสงบแห่งทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงพร้อมด้วย เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๕๘๖-๖๖๐๙ หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6586&Z=6609&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=218              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=283              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [283] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=283&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=8261              The Pali Tipitaka in Roman :- [283] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=283&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=8261              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.100-112.than.html#iti-103 https://suttacentral.net/iti103/en/ireland https://suttacentral.net/iti103/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :